สาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส
สำหรับวันแพร่ธรรมสากล 2020
“ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่ โปรดส่งข้าพเจ้าไปเถิด” (อสย. 6: 8)
พี่น้องชายหญิงที่รัก
พ่อปรารถนาที่จะแสดงความกตัญญูต่อพระเจ้าสำหรับ ความมุ่งมั่นที่พระศาสนจักรทั่วโลกได้ปฏิบัติในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาซึ่งเป็นเดือนแห่งการแพร่ธรรมพิเศษ พ่อเชื่อมั่นว่าคำขวัญเมื่อปีที่แล้ว ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านธรรมทูตในหลายชุมชน ตามแนวทางที่ปรากฏอยู่ภายใต้หัวข้อ “รับศีลล้างบาปและส่งออกไป: พระศาสนจักรของพระคริสตเจ้าในการปฏิบัติพันธกิจในโลก”
ในปีนี้ที่เต็มไปด้วยการเผชิญกับความทุกข์ยากและความท้าทายที่เกิดจากการระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 การเดินทางธรรมทูตทั่วทั้งพระศาสนจักรยังคงเดินหน้าต่อไป ในแสงสว่างแห่งพระวาจาที่พบในเรื่องกระแสเรียกของประกาศกอิสยาห์ “ข้าพเจ้าอยู่ที่นี่ โปรดส่งข้าพเจ้าไปเถิด” (อสย. 6: 8) นี่คือการตอบสนองที่มีความใหม่อยู่เสมอต่อคำถามขององค์พระผู้เป็นเจ้าว่า “เราจะส่งใคร” (อสย. 6: 8) การเชื้อเชิญจากหัวใจที่เปี่ยมด้วยพระเมตตาของพระเจ้าท้าทายทั้งพระศาสนจักรและมนุษยชาติทั้งมวลท่ามกลางวิกฤตปัจจุบันของโลก “เช่นเดียวกับบรรดาศิษย์ในพระวรสาร เราถูกพายุโหมกระหน่ำอย่างไม่คาดฝัน เราตระหนักว่าเราอยู่ในเรือลำเดียวกัน เราทุกคนเปราะบาง และสับสน แต่ในขณะเดียวกันเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่เราทุกคนถูกเรียกร้องให้พายเรือไปด้วยกัน เราแต่ละคนต้องปลอบโยนกัน บนเรือลำนี้... เราทุกคน เหมือนกับบรรดาอัครสาวกที่พูดด้วยความกังวลใจเป็นเสียงเดียวกันว่า“พวกเรากำลังจะตายอยู่แล้ว” (มก. 4:38) ดังนั้น เราตระหนักเช่นกันว่าเราไม่สามารถที่จะคิดถึงแต่ตัวเองได้ แต่เราสามารถทำสิ่งนี้ร่วมกันได้” (การรำพึง ณ ลานมหาวิหารนักบุญเปโตร วันที่ 27 มีนาคม 2020) เราตกใจจริงๆ สับสนและหวาดกลัวอย่างแน่นอน ความเจ็บปวดและความตายทำให้เรามีประสบการณ์ความอ่อนแอแบบมนุษย์ของเรา แต่ในขณะเดียวกันก็เตือนเราให้สำนึกในความปรารถนาลึกๆ สำหรับชีวิตและความเป็นอิสระจากความชั่วร้าย ในบริบทนี้การเรียกไปสู่การแพร่ธรรม เชื้อเชิญให้เราก้าวออกจากตัวเอง เพื่อความรักต่อพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์ แสดงให้เห็นในตัวมันเองว่าเป็นโอกาสสำหรับการแบ่งปัน การรับใช้ และการอธิษฐานภาวนาแทนผู้อื่น พันธกิจที่พระเจ้ามอบให้เราแต่ละคนนำเราออกจากความกลัวและการปิดตนเอง ไปสู่การค้นพบตนเองและฟื้นฟูความสัมพันธ์ขึ้นมาใหม่ เมื่อเรามอบตนเองให้กับผู้อื่น
7 ตุลาคม ระลึกถึง แม่พระลูกประคำ
แม่พระลูกประคำ
ในสมัยกลาง พวกที่ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดิน มักจะถวายมงกุฎดอกไม้ให้แก่พระเจ้าแผ่นดินของตน เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงว่าตนยังจงรักภักดีอยู่ พวกคริสตชนก็ได้รับเอาขนบธรรมเนียบประเพณีนี้มาใช้เป็นเกียรติแด่พระนางมารีย์ โดยมอบ ให้พระนางซึ่ง “มงกุฎดอกกุหลาบ” 3 ชนิดด้วยกันให้พระนาง คือ
1. มงกุฎที่ทำให้ระลึกถึงความชื่นชมยินดีของพระนาง
2. มงกุฎที่ทำให้ระลึกถึงความทุกข์โศกเศร้าของพระนาง
3. มงกุฎที่ทำให้ระลึกถึงเกียรติมงคลของพระนางในการที่พระนางได้มีส่วนร่วมในธรรมล้ำลึกแห่งชีวิตของพระเยซูเจ้า พระบุตรของพระนาง
แรกเริ่มทีเดียว เราเรียกการฉลองนี้ว่า“การฉลองพระนางมารีย์แห่งชัยชนะ”ที่เรียกอย่างนี้ก็เพราะว่า เป็นการเฉลิมฉลอง การที่คริสตชนได้รอดพ้นปลอดภัยจากการโจมตีของพวกตุรกีในชัยชนะทางเรือ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1571 ที่เมืองเลปันโต ในประเทศกรีก
วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคมนี้ เวลา 12.15 น.
ยุวธรรมทูตฯ พร้อมกันสวดสายประคำธรรมทูต เพื่อเด็กๆ ทั่วโลก
ไลฟ์สดผ่านทางแฟนเพจ "ยุวธรรมทูต HolyChildhood BKK"
แล้วพบกัน
วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม 2020 / 2563 เวลา 08.30น. สวดสายประคำเปิดเดือนแม่พระ ฝ่ายงานธรรมทูต ร่วมกับ ฝ่ายงานอภิบาล ฝ่ายการศึกษา และฝ่ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ สวดสายประคำร่วมกัน