Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

 imageedit 1 6373507384

บาทหลวงปิยะชาติ   มะกรครรภ์

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

sad

ผู้เป็นทุกข์โศกเศร้าย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน
     แม้ว่าการร้องไห้เป็นเรื่องปกติของชีวิตสำหรับทุกคน แต่บางครั้งผู้คนก็ร้องไห้ในสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่มีเหตุผลเลย เราจะร้องไห้ไปทำไม ตอบไม่ได้ ความเชื่อของสังคมว่าคนร้องไห้เป็นคนอ่อนแอ ความจริง การร้องไห้เป็นการขจัดสารเคมีแห่งความเครียดออกจากสมองอย่างชาญฉลาด แต่นักวิจัยพบว่า การร้องไห้อาจทำให้คนรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้นก็ได้ หากขาดคนเข้าใจคอยให้กำลังใจ และหากการร้องไห้นั้นทำให้เกิดความอับอาย หรือร้องเพราะเห็นผู้อื่นทนทุกข์ทรมาน ในความเป็นจริงคุณอาจรู้สึกมีความสุขหรือประหลาดใจและร้องไห้ บางคนร้องไห้เมื่อพวกเขาโกรธ เครียด เหนื่อยล้า วิตกกังวลหรือโศกเศร้าปวดร้าวถึงก้นบึ้งแห่งหัวใจจนไม่อาจกลั้นน้ำตาไว้ได้

     “การร้องไห้ ไม่ได้แปลว่า อ่อนแอ แต่มันคือ พลัง ที่หลังหมดหยดน้ำตา เราจะมีความคิดใหม่ๆขึ้นมาแทน” “เป็นบุญของผู้ที่เศร้าโศกเสียใจอย่างสุดซึ้งที่เห็นว่าบาปของตนได้ทำร้ายองค์พระเยซูเจ้าบนไม้กางเขนมากสักเพียงใด... เป็นบุญของผู้ที่เป็นทุกข์โศกเศร้าเพราะเห็นความทุกข์ยาก ความโศกเศร้า และความต้องการของผู้อื่น” 

โดยทั่วไป เวลาปกติสุขเรามักมองชีวิตเพียงผิวเผินและไม่ค่อยสนใจใยดีกับผู้อื่นมากนัก แต่เมื่อความสูญเสียใหญ่หลวงถาโถมเข้ามาในชีวิต เราจะเริ่มมองเห็นความรักและการปลอบโยนจากพระเจ้า รวมถึงความช่วยเหลือและน้ำใจดีของเพื่อนมนุษย์ การที่เรามีความทุกข์ เราจะนึกถึงพระ และได้รับพระเมตตาจากพระองค์ในที่สุด จงยอมรับว่า เราเป็นทุกข์ และมันไม่ได้เป็นนายเหนือเรา การเป็นทุกข์เกิดจากความไม่เป็นอิสระของใจเรา การตกเป็นทาสของอารมณ์ การไม่ปล่อยวาง ละเมื่อเรายอมรับได้ เมื่อนั้น เราจะพบว่า เราได้รับการปลอบโยนจากพระองค์ผู้ไม่เคยทอดทิ้งเรา

     ผู้ที่รู้จักร้องไห้เสียใจไปกับผู้อื่น นั่นคือความศักดิ์สิทธิ์ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงตรัสในสมณสาสน์ จงชื่นชมยินดีเถิด จดหมายนักบุญเปาโลถึงชาวโรม ก็ยืนยันว่า นักบุญเปาโลร้องไห้กับผู้ที่ร้องไห้...

     ผู้เขียนคิดถึงประสบการณ์ ตอนที่ตนเองร้องไห้ เพราะต้องออกเดินทางจากบ้าน จากพ่อแม่พี่น้องไปเรียนต่อ ร้องไห้ เพราะรู้สึกซาบซึ้ง ดีใจ เห็นคนอื่นได้รับสิ่งดีๆแล้ว สะเทือนใจร้องไห้ ก็ร้องไปกับเขาด้วย เช่น เห็นเด็กนักเรียนที่ทำพิธีอำลาคณะซิสเตอร์ คณะครู เพื่อนๆ ร้องไห้ที่มาจากการสัมผัสความเป็นทุกข์ในผู้ที่อยู่ต่อหน้า ร้องไห้กับเพื่อนที่ถูกครูดุด่า เป็นน้ำตาที่หลั่งเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ร้องไห้ที่มาจากการสงสารเห็นนกร้องจิ๊บๆ บินหารังไม่เจอ หรือ แมวตัวเล็กๆร้องด้วยความหิว หลังจากการร้องไห้ ผู้เขียนได้รับการปลอบโยนเสมอ จากพระหรรษทาน จากพระวาจา จากมิตรภาพและความเมตตาจากคนรอบข้าง

     คุณพ่อบอสโก บิดาของเราร้องไห้ ตั้งแต่เล็กหนูยอห์นร้องไห้เพราะนกขุนทองตัวโปรดตาย ท่านร่วมทรมานกับเด็กๆที่ป่วย และร่วมร้องไห้กับคนที่สูญเสียญาติพี่น้องไป ดวงตาของท่านจะนองด้วยน้ำตาเมื่อฟังบทเทศน์เรื่องความรักของพระเจ้า พระคุณแห่งน้ำตากลายเป็นเครื่องหมายแห่งความศักดิ์สิทธิ์ วันที่ 15 พฤษภาคม เมื่อท่านถวายมิสซาที่พระแท่นแม่พระองค์อุปถัมภ์ ณ. วิหารพระหฤทัยที่เพิ่งทำพิธีอภิเษก ท่านร้องไห้ออกมาดังๆ อย่างหักห้ามไม่ได้ จนเกือบตลอดมิสซา เพราะท่านเห็นภาพชัดเจนของความฝันครั้งแรกเมื่ออายุ 9 ขวบ ที่ท่านร้องไห้เพราะไม่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น ท่านขอร้องให้สุภาพสตรีในฝันอธิบายความหมาย สุภาพสตรีจึงวางมือลงบนศีรษะของท่านและกล่าวว่า “เมื่อถึงเวลาอันสมควรแล้ว เธอจะเข้าใจทุกอย่างเอง”
เมื่อหวลกลับไปมองอดีต มองการเสียสละมากมายเพื่อช่วยเหลือเด็กและเยาวชนให้รอด ชีวิตของท่านก็ตรงกับเพลงสดุดีที่ 126 ผู้ที่หว่านด้วยน้ำตา ย่อมโห่ร้องยินดีเมื่อเก็บเกี่ยวเขาเดินพลางร้องไห้พลาง หอบเมล็ดพืชไปหว่าน ยามกลับมา เขาโห่ร้องด้วยความยินดี นำฟ่อนข้าวกลับมาด้วย

     ดังนั้น น้ำตาสำหรับหลายคน ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนของชีวิต หลังม่านน้ำตา เขาจึงเริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เมื่อผ่านช่วงนั้นมาได้แล้ว การมีชีวิตต่อจึงมาจากแรงบันดาลใจ เกิดจากการเลือกครั้งใหม่ด้วยพลังใจของตัวเอง ที่เอาชนะความหวาดกลัวและจุดบอด กลับมายิ้มได้อีกครั้งและยังทำหน้าที่ตัวเองได้ดีกว่าเม ทำสิ่งที่ชอบและอยากทำ ทำให้รู้เลยว่ายังมีโลกกว้าง ที่มากกว่าโลกแคบของตัวเอง ได้รู้จักคนอื่นที่ทุกข์กว่าเรา และได้คิดว่า เมื่อเราเคยได้เคยมีวันนี้ เรามองไม่มีบ้างก็ได้รสชาติชีวิตอีกแบบหนึ่ง ซึ่งก็ต้องเรียนรู้กันไป เรายังมีชีวิตอยู่ ยังหายใจ เรายังไม่ตาย ชีวิตของเราก็ต้องสู้กันต่อไป

     และแล้ว... วันนี้ชีวิตของเรา ได้กลายเป็นพลังให้คนอื่นๆ เราเองสามารถเป็นกำลังใจเวลาที่พวกเขามีปัญหาชีวิต โดยที่มองว่าเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น มันก็คือ “ฝัน” เมื่อผ่านมาแล้ว เราก็จะไม่รู้สึกอะไรกับมันมากนัก และมันก็จะผ่านไปได้ ส่วนวันนี้ก็คือ วันนี้ ที่เราต้องอยู่และสู้กันต่อไป”


(ที่มา : นิตยสารดอนบอสโก, ปีที่ 62 , เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2562, หน้า 38-39)

ศึกษาพระคัมภีร์

Catholic bible

ค้นหา

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

bkk2020

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เรื่องมาตรการและแนวทางภาคปฏิบัติ

เพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสตศาสนิกชนคาทอลิก

แรงจูงใจในการประกาศพระวรสาร

 

บทความดีดี