Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

 imageedit 1 6373507384

บาทหลวงปิยะชาติ   มะกรครรภ์

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

17 ตุลาคม
นักบุญอิกญาซิโอ ชาวอันติโอค (+107)
พระสังฆราชและมรณสักขี

     อิกญาซิโอ หรือ เทโอโฟโร ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้ที่นำพระเยซูเจ้าไปให้” เป็นชื่อที่ท่านอยากให้คนอื่นเรียกท่าน นักบุญอิกญาซิโอ ได้เป็นผู้ที่สืบตำแหน่งคนที่สองต่อจากนักบุญเปโตร ที่เมืองอันติโอค ซึ่งขณะนั้นเป็นเมืองหลวงของซีเรีย ท่านได้ถูกนำมาที่กรุงโรมด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นคริสตชนในสมัยของจักรพรรดิตรายาน โดยจะต้องถูกโยนให้สัตว์ร้ายกัดกิน

     ท่านรู้ตัวดีว่า ที่ท่านไปกรุงโรมครั้งนี้จะไม่ได้กลับมายังบ้านเกิดเมืองนอนอีก ท่านเองรู้สึกห่วงใยและเป็นกังวลในฐานะที่เป็นผู้นำที่จะต้องทำให้ความเชื่อของศาสนจักรบนทางผ่านของท่านเข้มแข็งขึ้น ท่านจึงได้เทศน์สอนและตักเตือนให้พวกเขาซื่อสัตย์ในสิ่งที่พวกเขาได้รับสืบทอดมาจากบรรดาอัครธรรมทูต และเมื่อได้อำลาจากพระศาสนจักรเหล่านี้แล้ว ท่านก็ได้เขียนจดหมายเจ็ดฉบับด้วยกัน ในจดหมายนั้น ท่านได้ขอบคุณพวกเขาและได้พยายามสอดใส่ลักษณะนิสัยที่ร้อนรนแต่เปี่ยมไปด้วยความรัก ความเมตตาลงไปในจดหมายนั้นด้วย
     ท่านเป็นผู้ที่หลงรักพระคริสตเจ้าเป็นที่สุด ท่านได้เน้นถึงความเป็นจริงแห่งมนุษยภาพและพระทรมานของพระองค์ ต่อต้านกับความหลงผิดที่กำลังจะก่อตัวขึ้น และท่านเองก็รักพระศาสนจักรอย่างที่สุดด้วย โดยย้ำถึงเอกภาพของพระศาสนจักรซึ่งตั้งอยู่บนศีลมหาสนิทที่เป็นศูนย์กลาง (พิธีมิสซา)และขึ้นอยู่กับฐานานุกรมของพระศาสนจักร คือ พระสังฆราช พระสงฆ์ อนุสงฆ์ จดหมายของท่านที่เขียนถึงศาสนจักรที่กรุงโรมนั้น ท่านได้ชมศาสนจักรแห่งนี้ว่าเต็มไปด้วยความรักและความโอบอ้อมอารี และท่านได้แสดงความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะเป็นมรณสักขีด้วย
     นักบุญอิกญาซิโอ ได้มีความคิดทางพิธีมิสซาเกี่ยวกับการเป็นมรณสักขี โดยที่ท่านแลเห็นว่า การเป็นมรณสักขีนั้น เปรียบเสมือนการยืดอายุยัญบูชาแห่งความรักและความนอบน้อมเชื่อฟังของพระคริสตเจ้าที่ได้รับการถวายในบูชามิสซาออกไป โดยอาศัยการพลีชีวิต นักบุญอิกญาซิโอปรารถนาที่จะเป็น “ปังขาวของพระคริสตเจ้า” ในจดหมายที่ท่านเขียนถึงศาสนจักรที่กรุงโรม (Ad Romanos 4,1) ส่วนในจดหมายที่ท่านเขียนถึงคริสตชนที่เมืองสมีรนา ท่านได้เตือนสติพวกเขาให้ระลึกถึงการกลับคืนชีพทางร่างกายของพระเยซูเจ้า (บทที่ 3) และเตือนทุกคนให้นอบน้อมเชื่อฟังต่อพระสังฆราชเหมือนกับที่พระเยซูเจ้าทรงนอบน้อมเชื่อฟังต่อพระบิดา (8,1) และในจดหมายที่ท่านเขียนถึงคริสตชนที่เมืองเอเฟซัส ท่านได้แนะนำพวกเขาให้พยายามรวมกลุ่มกันสำหรับพิธีมิสซาและสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าบ่อยๆเท่าที่จะทำได้ (บทที่ 13) และท่านได้วิงวอนรบเร้าพวกคริสตชนที่กรุงโรม อย่าได้ขัดขวางท่านที่จะเลียนแบบพระทรมานของพระเยซูคริสตเจ้า (6,3)
     เราต้องไม่ลืมว่า การมีส่วนร่วมในพิธีมิสซาทุกครั้งสำหรับเราคริสตชนแล้วไซร้ ก็คือ การมีส่วนร่วมในการตายและการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้านั่นเอง
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1.ให้เราได้เข้าใจในค่านิยมที่บังซ่อนอยู่ของการรู้จักร่วมทนทุกข์ลำบากพร้อมๆกับพระเยซูเจ้า
2.ให้เรารู้สึกสำนึกว่าความทุกข์ยากลำบากที่เรารับทนด้วยยินดีและเต็มใจนั้นสามารถช่วยให้โลกรอดได้
3. ขอให้ความตายของเราเป็นบูชาอันสงบแห่งความรักของเราที่มีต่อพระบิดาเจ้า
4. ขอพระสวามีเจ้าโปรดรับความทุกข์ยากลำบากของพวกผู้ที่กำลังทนทุกข์ให้เป็นผลแห่งความรอดสำหรับ ทุกคน
(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี,นครปฐม, วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน, 1985 หน้า 425 – 427)

ศึกษาพระคัมภีร์

Catholic bible

ค้นหา

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

bkk2020

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เรื่องมาตรการและแนวทางภาคปฏิบัติ

เพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสตศาสนิกชนคาทอลิก

แรงจูงใจในการประกาศพระวรสาร

 

บทความดีดี