Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

 imageedit 1 6373507384

บาทหลวงปิยะชาติ   มะกรครรภ์

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

13 มิถุนายน นักบุญ อันตน แห่งปาดัว (1195 – 1231) พระสงฆ์และนักปราชญ์

     แฟร์นันโด เด บูโยแอส อี ตราเวอีรา เกิดที่กรุงลิสบอนในประเทศโปรตุเกส ต่อมาได้บวชเป็นพระสงฆ์และได้เข้าเป็นนักบวชในคณะนักบุญเอากุสติน แต่ว่าต่อมาท่านได้รู้สึกทึ่งมากในอุดมการณ์ของพวกนักบวชคณะฟรังซิสกัน เพราะท่านได้แลเห็นศพของมรณสักขีที่เป็นนักบวชคณะฟรังซิสกันพวกแรกของประเทศโมรอคโค 5 คนด้วยกัน ท่านจึงตัดสินใจเข้าเป็นนักบวชฟรังซิสกันและไปประจำอยู่ที่อารามนักบุญ อันโตนีโอ(แห่ง)ที่เมืองโคอิมบรา และได้รับนามใหม่ว่า”อันโตนีอุส”

    เนื่องจากอันโตนีโออยากจะเป็นมรณสักขีกับเขาบ้าง จึงต้องการไปแพร่ธรรมในท่ามกลางบรรดาชาวอิสลามทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา แต่ความเจ็บไข้ทำให้ท่านไปไม่ถึงจุดหมาย เรือที่ท่านโดยสารไป ต้องกลับมาจอดและขึ้นบกที่เกาะซิซิลีเพราะโดนพายุหนัก เมื่อกลับมาถึงประเทศอิตาลี ท่านได้ออกไปประกาศพระวรสารทั่วประเทศอิตาลี
     ในปี 1221 ท่านได้เข้าร่วมการประชุมใหญ่ของคณะที่ปอร์ซีอุนโคลาและได้มีโอกาสพบกับนักบุญฟรังซิส อัสซีซี
ท่านทำให้คนเป็นอันมากกลับใจและได้เทศน์ต่อต้านพวกเฮเรติกในประเทศอิตาลีและฝรั่งเศส ในระหว่างเทศกาลมหาพรตปี 1231 ท่านได้เทศน์สอนเกี่ยวกับเรื่องของสังคม เป็นต้นความยุติธรรมทางสังคม ซึ่งถือว่าเป็นจุดสุดยอดของการเทศน์ของท่าน
     ท่านสิ้นใจในเดือนมิถุนายนในปีเดียวกันนั้นที่ตำบลอาร์เชลลา ในจังหวัดปาดัว ขณะที่มีอายุเพียง 36 ปีเท่านั้น ท่านเป็นนักบวชฟรังซิสกันคนแรกที่ได้สอนเทววิทยา เราจะเห็นว่าในบทเขียนและคำเทศน์สอนต่างๆของท่าน ท่านมักจะอ้างอิงข้อความจากพระคัมภีร์อยู่เสมอๆ ดังนั้นในปี 1946 พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ได้ให้เกียรติท่านโดยแต่งตั้งให้ท่านเป็น “นักปราชญ์แห่งพระวรสาร” การเคารพให้เกียรติท่านนั้น ดูเหมือนว่าจะแพร่หลายที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักร ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนักบุญ หลังจากที่สิ้นใจได้เพียงปีเดียวเท่านั้น
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1. ขอให้ความศรัทธาภักดีของเราที่มีต่อบรรดานักบุญ จงช่วยนำเราให้ใกล้ชิดกับพระเยซูคริสตเจ้ามากยิ่งขึ้น
2. ขอให้เราได้รู้จักและแลเห็นโฉมหน้าของพระเยซูเจ้าในบรรดานักบุญในแต่ละศตวรรษ
3. ขอให้เราตระหนักว่าบรรดานักบุญเป็นพี่น้องของเราที่คอยเอาใจใส่ห่วงใยเราอยู่เสมอ
4. ขอให้พฤติกรรมและจิตตารมณ์ของบรรดานักบุญได้ช่วยโน้มน้าวให้เราเจริญชีวิตตามจิตตารมณ์พระวรสาร
(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, สมุทรปราการ, บ.สตาร์บูม อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2007, หน้า 227 – 228)