Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

 imageedit 1 6373507384

บาทหลวงปิยะชาติ   มะกรครรภ์

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

1 พฤษภาคม นักบุญยอแซฟ กรรมกร

     ในปี 1955 พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 ได้ทรงตั้งวันฉลอง “นักบุญยอแซฟ กรรมกร” ขึ้น เพื่อจะให้คนงานทั้งหลายได้มีนักบุญองค์อุปถัมภ์ของตน และเพื่อให้ความหมายแบบคริสตชนแก่ “วันกรรมกร” ด้วย

     รูปแบบของนักบุญยอแซฟ คือ กรรมกรที่สุภาพถ่อมตัว แต่ว่ายิ่งใหญ่แห่งเมืองนาซาเร็ธ นำเรามนุษย์ให้มุ่งไปหาพระคริสตเจ้า พระผู้ไถ่ของมนุษยชาติ พระบุตรพระเป็นเจ้า พระองค์ได้ทรงมีส่วนร่วมในทุกๆสภาพของมนุษย์ (ยกเว้นบาป) เทียบ (GS 22 -32) ดังนี้ เราสามารถยืนยันได้ว่า การงานได้ให้อำนาจอันน่าพิศวงแก่มนุษย์ในอันที่จะมีส่วนร่วมในงานสร้างโลกของพระผู้เป็นเจ้า และอำนาจในอันที่จะช่วยนำโลกนี้ไปสู่ความสำเร็จบริบูรณ์ขั้นสุดท้ายด้วย
     การงานให้ค่านิยมอันแท้จริงของมนุษย์ คนในสมัยนี้ได้เริ่มมีจิตสำนึกถึงค่านิยมนี้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถทวงสิทธิขั้นพื้นฐานของเขาได้และให้คนอื่นได้เคารพในความเป็นมนุษย์ของเขาด้วย แต่ว่าหลายๆครั้งพวกเขาได้ทวงสิทธิอันนี้โดยใช้วิธีการรุนแรง
     มีคริสตชนหลายคน เนื่องจากว่ามีนิสัยรักความสงบ ไม่ชอบความวุ่นวายและอยากอยู่เฉยๆกับข้าวของเงินทองต่างๆที่ตนมีอยู่ ไม่อยากเกี่ยวข้องกับการต่อสู้ทางสังคมจึงรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ หรือเป็นศัตรูกับการเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรมของพวกคนงานเสมอๆ จึงไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใดว่าทำไมในวันที่ 1 พฤษภาคม หลายๆคนในสมัยเรานี้ได้เรียกร้องให้ชนชั้นกรรมาชีพลุกขึ้นต่อสู้กับพระศาสนจักร
     ในทุกวันนี้ พระศาสนจักรได้ยอมรับการฉลองวันกรรมกร เพื่อต้องการจะประกาศค่านิยมที่แท้จริงของการงานและเพื่ออวยพรกิจการและพฤติกรรมต่างๆของชนชั้นกรรมาชีพในการต่อสู้ที่เขากำลังทำอยู่ในบางประเทศ ทั้งนี้เพื่อจะได้มาซึ่งความยุติธรรมทางสังคมที่ถูกต้องและเสรีภาพด้วย พระศาสนจักรได้กระทำสิ่งนี้ลงไปเพื่อเป็นการขอร้องให้สัตบุรุษทุกคนได้ทำการคิดทบทวนถึงคำสอนต่างๆที่พระศาสนจักรได้ให้ไว้ในระหว่างปีหลังๆนี้ เป็นต้นสมณสาสน์ “Mater et Magistra” ของพระสันตะปาปายวงที่ 23 และ “Populorum Progressio” ของพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6
     ในวันนี้จึงเป็นการฉลอง “วันกรรมกร” (ตรงกับการฉลองสากล) ภายใต้การอุปถัมภ์ของนักบุญยอแซฟ กรรมกร เราได้มาร่วมชุมนุมกันในพิธีบูชามิสซาอันเป็นสัญลักษณ์ของการช่วยให้รอด มิใช่เพื่อทำให้บูชามิสซานี้รับใช้ค่านิยมตามธรรมชาติ แม้จะสูงส่งหรือมีสกุลสักเพียงใดก็ตาม แต่เป็นเพราะว่าพระเป็นเจ้าพระองค์ได้ทำงานในการสร้างโลกเป็นเวลา 6 วัน ด้วยกัน (ปฐก 1 – 2) และพระองค์ได้ทรงรวม “วันที่ 7” เข้าไว้กับผลงานของพระองค์ เพื่อสร้างโลกใหม่ขึ้นมา (ยน 5:17) และเพราะว่าการสร้างโลกใหม่นี้เองที่บรรดาบุตรของพระเจ้าทุกคนจะต้องร่วมมือกันจึงจะสำเร็จได้เป็นต้นในบูชามิสซา ดังนั้นเราจึงต้องให้การฉลอง “วันกรรมกร” ได้มีที่ว่างให้สำหรับ “การฉลองบูชามิสซา” เนื่องจากว่า บูชามิสซาได้เผยแสดงให้โลกได้เห็นค่านิยมเหนือธรรมชาติของการค้นคว้าและการริเริ่มของตน
     การมีส่วนร่วมในการถวายบูชามิสซาของเรา นอกจากจะช่วยให้เราร่วมมือกับงานที่พระเป็นเจ้าได้ทรงเริ่มขึ้นแล้วเพื่อสรรค์สร้าง “โลกใหม่” ได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ยังได้ช่วยให้งานต่างๆของมนุษย์ที่เรามีส่วนร่วมอยู่นั้นได้ศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย ทั้งยังเป็นการสอนเราว่างานต่างๆของมนุษย์นั้นเป็นการร่วมมือกับพฤติกรรมของการสร้างสรรค์ของพระเป็นเจ้า ดังนั้น จุดประสงค์ที่แท้จริงของการงานทุกชนิดก็คือการสร้าง “อาณาจักรใหม่” (เทียบ GS 33-39: 57 -72)
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1.ขอให้โลกของคนงานได้รับการประกาศพระวรสารอย่างมีประสิทธิภาพ
2.ขอให้กรรมกรทั้งหลายได้รู้จักพระคริสตเจ้า เพราะพระองค์คือพระผู้ช่วยให้รอดอย่างแท้จริงของมนุษย์
3.ขอให้บรรดาผู้ที่ต้องทนทุกข์ยากลำบากเพราะการงานของตนได้พบกับความยุติธรรม
4.ขอให้เกิดความเข้าใจและการร่วมมือกันในระหว่างชนชั้นต่างๆของสังคม
(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, กรุงเทพฯ, บ.สตาร์บูม อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2007,หน้า 172-174)