Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

 imageedit 1 6373507384

บาทหลวงปิยะชาติ   มะกรครรภ์

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

17 มกราคม
นักบุญ อันตน (251/252 – 357)
อธิการ

     “ถ้าเจ้าอยากเป็นผู้ครบครันบริบูรณ์ จงไปขายทุกสิ่งทุกอย่างที่เจ้ามี และแจกจ่ายให้คนจน แล้วตามเรามา” (มธ 19,21) คำเชื้อเชิญของพระเยซูเจ้านี้ นักบุญ อันตน ได้ฟังในขณะที่มีอายุได้ 20 ปีกว่านิดหน่อย และได้กลายเป็นสัญลักษณ์หรือหมายสำคัญที่เรียกท่านให้ไปสู่ชีวิตฤาษี

     นักบุญ อันตน ได้ไปเจริญชีวิตเป็นฤาษีโดดเดี่ยวในที่ราบสูงของประเทศอียิปต์ แต่ว่าภายในเวลาไม่ช้า ท่านได้เริ่มมีความรู้สึกว่า ชีวิตโดดเดี่ยวเช่นนี้ย่อมมีภัยอันตรายสำหรับผู้ที่ไม่ได้เตรียมตัวมาอย่างดี ท่านจึงได้ริเริ่มก่อตั้งรูปแบบชีวิตที่อยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ มีการสวดภาวนาโดยมีผู้ใหญ่คอยแนะนำ เจริญชีวิตอยู่ด้วยกันฉันพี่น้อง และนี่แหละที่จะเป็นเครื่องมือช่วยหรือหนทางที่จะนำไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ ดีกว่าการปฏิบัติที่เคร่งครัดบางอย่างของชีวิตฤาษีเสียอีก ท่านได้ร่วมมือกับนักบุญอาธานาส ในการต่อสู้กับพวกเฮเรติกที่นิยมอารีอุส ชีวิตฤาษีของท่านนั้นมีอิทธิพลมาก ได้มีอิทธิพลไปจนรถึงชีวิตฤาษีของพระศาสนจักรตะวันออกด้วย
     ชีวิตฤาษีได้ถือกำเนิดขึ้นในฐานะที่เป็นพยานแห่งความชิดสนิทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบรรดาหัวใจทั้งหลาย กับการเรียกร้องของอุดมการณ์ทางพระวรสารที่แท้จริง (LG 43-47)
     ขอให้ทุกหมู่คณะที่ทำการถวายบูชามิสซาได้ทำการพิจารณาทบทวนถึงค่านิยมนี้คือ พระคริสตเจ้าผู้ได้ถวายพระองค์เองเป็นเครื่องบูชาที่ทรงชีวิตแด่พระบิดาเจ้า ได้ยอมปฏิเสธและสละตัวพระองค์เอง จนได้กลายเป็นปังที่เจือจุนเผื่อแผ่สำหรับชีวิตของโลก
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1. ขออย่าให้ความศรัทธาภักดีของเราทำให้เราต้องตีตนออกห่างจากผู้อื่น ตรงข้ามกลับต้องทำให้เรามีความสัมพันธ์กับคนอื่นมากขึ้น
2. ขอให้อุดมการณ์ของพระวรสารช่วยปลุกกระตุ้นกระแสเรียกของเด็กหนุ่มสาวในสมัยนี้ ให้เขาได้ติดตามพระองค์อย่างใกล้ชิด
3. ขอให้ชีวิตนักบวชเป็นการร่วมชิดสนิทสัมพันธ์อย่างแท้จริงในพระคริสตเจ้า
4. ขอให้คริสตชนได้เข้าใจความยากจนของพระคริสตเจ้า และได้ปฏิบัติตามด้วยเถิด
(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, 1985, นครปฐม, วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน, หน้า 26-27)