Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

 imageedit 1 6373507384

บาทหลวงปิยะชาติ   มะกรครรภ์

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

11 พฤศจิกายน 60
นักบุญมาร์ติน แห่ง ตูรส์
(317 -397)
พระสังฆราช

     มาร์ตินเป็นบุตรชายของเจ้าหน้าที่โรมันคนหนึ่ง ท่านเกิดที่ปันโนเนีย ในประเทศฮังการี และได้เข้ารับราชการทหารอยู่ในกองทัพของจักรพรรดิตั้งแต่อายุยังน้อย
     นักบุญมาร์ติน ได้ออกจากราชการทหารหลังจากที่ได้รับศีลล้างบาปแล้ว แล้วก็ได้มุ่งเข้าสู่ประเทศฝรั่งเศส และได้มอบตัวเป็นศิษย์ของนักบุญฮีแลร์แห่งปัวเจียร์ ท่านได้เจริญชีวิตแบบฤาษีที่เกาะกัลลีนารา (อะลัสซีโอ) ต่อมาเพราะคำแนะนำของนักบุญฮีแลร์ ท่านจึงได้ตั้งอารามแห่งแรกขึ้นในภาคพื้นตะวันตกที่เมืองลีกือเย และจากอารามแห่งนี้เอง ที่ท่านได้ส่งฤาษีของท่านไปแพร่ธรรมทั่วประเทศ

     ในปี 373 นักบุญมาร์ติน ได้รับเลือกให้เป็นพระสังฆราชของเมืองตูรส์ ท่านอย่ในสมัยเดียวกับนักบุญอัมโบรซีโอ ซึ่งก็ได้แข่งกันในเรื่องความมีใจร้อนรน ท่านได้กลายเป็นผู้หนึ่งแต่ในบรรดาผู้ก่อตั้งพระศาสนจักรในประเทศฝรั่งเศส และได้ตั้งอารามที่มาร์มูทีเอร์ ที่อารามแห่งนี้เองที่ได้เป็นสถานที่สำหรับเตรียมเด็กหนุ่มให้เป็นพระสงฆ์ และได้เป็นบ้านเณรแห่งแรกจริงๆ ที่ได้ผลิตพระสังฆราชให้แก่ประเทศฝรั่งเศสหลายองค์ด้วยกัน ท่านได้ธุดงค์จากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง พร้อมกันนั้นก็แพร่ธรรมไปด้วยในหมู่ของบรรดาชุมพาบาลและชาวบ้าน ท่านได้สร้างวัดในบ้านนอกหลายแห่งด้วยกัน อันทำให้ศูนย์กลางของชีวิตทางเศรษฐกิจย้ายจากตัวเมืองมาอยู่บ้านนอก ท่านได้พยายามทำงานเพื่อกำจัดศาสนาที่ถือนอกรีตนอกทาง ทั้งได้พยายามสร้างสันติในหมู่นักบวชอันได้รับการรบกวนจากการหลงผิด ท่านได้เป็นนักบุญองค์หนึ่งในจำนวนองค์แรกๆซึ่งมิได้เป็นมรณสักขีที่ได้รับการคารวะในพิธีกรรม การเคารพให้เกียรติท่านนั้นได้แพร่หลายมากแม้กระทั่งในทุกวันนี้
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1. เพื่อที่จะทำความดี ให้เราได้เรียนรู้ความจำเป็นของคนอื่นเขา
2. ให้เรามีจิตสำนึกว่ากิจการดีทุกชิ้นทุกอันจะต้องมีผลตอบสนองอย่างไม่ต้องสงสัย
3. ให้เราร่วมมือกับสังฆราชสำหรับคุณความดีของทุกๆคน
(ที่มา : ย. วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, นครปฐม, วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน, 1985, หน้า 466-467)