Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

 imageedit 1 6373507384

บาทหลวงปิยะชาติ   มะกรครรภ์

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

พระวาจาในชีวิต และชีวิตในพระวาจา
คือ การแพร่ธรรมกับตนเอง

     ชีวิตของมนุษย์เราทุกคนนั้น เป็นชีวิตที่มีชีวิตจริงๆ นั่นหมายถึง ชีวิตของเรานั้น มีการเจริญเติบโต มีการพัฒนา การเจริญพัฒนาเติบโตนี้มาจากการรับอาหารที่จำเป็น ที่มีประโยชน์ เพื่อบำรุงเพื่อสนับสนุนให้การเจริญเติบโตนั้นดำเนินไปได้

ชีวิตของเรา มีการเจริญเติบโต 3 ด้าน
ก.กาย : เริ่มด้วยการดื่มน้ำนมจากคุณแม่ ดูดนมจากขวดนม ต่อมารับประทานอาหารเหลว อาหารบดอ่อนนุ่ม ต่อเมื่ออายุมากขึ้นก็เปลี่ยนเป็นอาหารแข็ง ต้องเคี้ยวกลืน อาหารจึงเป็นสิ่งจำเป็นของชีวิตกาย เพื่อสุขภาพที่ดีของเรา ทำให้เราดำเนินชีวิต ทำงานตามหน้าที่รับผิดชอบของตนได้
ข.สมอง / สติปัญญา : ทุกคนมีความสำนึก มีสติปัญญา มีความคิด ซึ่งก็เริ่มเจริญเติบโตเป็นขั้นๆ นับแต่เกิด ด้วยการสอนของคุณพ่อคุณแม่ ทำให้เรารู้ รู้จักรักพ่อแม่ พี่น้อง และเพื่อน ต่อจากนั้นก็เข้าโรงเรียนในระดับต่างๆกัน เพื่อเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ ที่ในภายหน้าก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้นด้วยความรู้ ความเชี่ยวชาญในการทำงาน ทำมาหากินเลี้ยงชีพตนเอง ความเจริญทางสมอง สติปัญญา ทำให้คุณภาพของชีวิตดีขึ้น มิใช่เฉพาะชีวิตกายเท่านั้น แต่ยังนำเราออกจากความอวิชชา สู่ความรู้ รู้จัก และความรักสิ่งเหนือธรรมชาติด้วยนั่นคือ “พระเจ้า”
ค.จิตใจ/วิญญาณ : เป็นพระพรพิเศษที่พระเจ้ามอบให้แก่มนุษย์ทุกคน วิญญาณ คือ ชีวิตพระเจ้าที่มอบให้มนุษย์ทุกคน จิตใจ เป็นสายสัมพันธ์ที่มนุษย์ถูกผูกไว้กับพระเจ้า และเป็นคุณพ่อคุณแม่ของเราอีกเช่นกัน ที่เป็นผู้สอนเราให้รู้จักความดีความสวยงาม และความจริง ที่นำมาซึ่งความเชื่อและความรักต่อจุดเริ่มต้นทุกสิ่งทุกอย่าง นั่นคือ พระเจ้าและบ่อเกิดการรู้ รู้จักความเชื่อ ความรักในพระเจ้านี้ก็คือพระคัมภีร์ พระวรสาร ซึ่งเราเรียกว่า “พระวาจาของพระเจ้า” (The Word of God)
     ความเจริญเติบโต การพัฒนาชีวิตของเราในระดับกายและสมองนั้น เป็นสิ่งที่เรามนุษย์ขวนขวายกันอยู่อย่างมากมายอยู่แล้ว จะเห็นได้ตรงที่ว่า ทุกคนบำรุงรักษาร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วย ไม่ไข้ และด้านสมอง สติปัญญา ทุกคนก็ขยันศึกษาหาความรู้กัน ถึงขั้นปริญญาในระดับต่างๆกัน
ในระดับกาย : เรารับประทานอาหารเพื่อให้เติบโตมีสุขภาพดี แข็งแรง ซึ่งในทางกลับกัน ความมีสุขภาพดี แข็งแรง รับประทานอาหารได้ ทำให้ชีวิตของเราราบรื่นวนเวียนไปมาเช่นนี้
ในระดับสมอง/สติปัญญา : เราเรียนหนังสือเพื่อเพิ่มความรู้ สติปัญญาและความรู้ ความเชี่ยวชาญนี้ทำให้เราฉลาด ตัดสินใจได้ดี ถูกต้อง วนเวียนเช่นนี้ทำให้ชีวิตดีโดยตลอด
    แต่สำหรับความเจริญเติบโตของชีวิตจิต ชีวิตวิญญาณนั้น เราได้ให้ความสนใจ เอาใจใส่และกระตือรือร้น ขวนขวาย แสวงหาด้วยความมุ่งมั่นเช่นเดียวกันหรือไม่ อย่างไร? เราทุกคนคงรู้คำตอบสำหรับตนเองกันอยู่แล้วว่า เรายังไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องที่สำคัญกว่านี้ (ชีวิตจิต / ชีวิตวิญญาณ) เท่ากับชีวิตกาย และ สติปัญญา
     พระคัมภีร์และพระวรสาร เป็นพระวาจาของพระเจ้า เป็นคำพูดของพระเจ้าที่ทรงตรัสกับมหาบุรุษอับราฮัม กับลูกหลานของอับราฮัมต่อๆมายาวนาน พระองค์ดำรัสผ่านประกาศกและในที่สุดพระองค์ทรงตรัสโดยตรงทางองค์พระบุตร พระเยซูคริสต์ ผู้ทรงเป็นพระวาจา(The Word) ของพระเจ้าโดยตรง มนุษย์เราถ้าไม่มี “คำพูด” ที่เปล่งเสียงออกจากปากให้คนอื่นฟัง ก็จะไม่มีการเข้าใจกัน ไม่มีการรู้จักกัน ไม่มีการรักกันและกัน เช่นกัน ถ้าพระบุตรไม่ทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์ เรามนุษยชาติก็จะไม่รู้จักพระเจ้า การพูด ทำให้เรามนุษย์ได้รู้สิ่งที่อยู่ในความคิดในใจของผู้พูด พระเยซูจึงทำให้เรามนุษย์ได้รู้จักพระเจ้าและรู้ถึงแผนการความรอดที่พระเจ้าจัดเตรียมให้เรามนุษย์
     พระเยซูคริสต์เป็นผู้ทรงเปิดเผยพระเจ้าแก่มนุษย์ พระองค์เป็นผู้ทรงมาบังเกิดเป็นมนุษย์เพื่อไถ่โทษบาปเรา เพื่อนำเรามนุษย์ทุกคนกลับคืนสู่พระบิดาเจ้า พระองค์ทรงดำเนินชีวิตมนุษย์แท้ๆ เพื่อเป็นแบบอย่างให้เราได้ปฏิบัติตาม พระองค์ได้มอบคำแนะนำชีวิตดีๆให้แก่เรามากมายเพื่อความรอด ทั้งหมดนี้ได้ถูกบันทึกในพระวรสาร ซึ่งเราเรียกว่า “ข่าวดี” (Gospel = Good News)
     เพราะเหตุนี้ เราคริสตชนจึงควรได้รำพึง อ่านพระคัมภีร์ (Scriptures – Bible) และพระวรสาร (Gospel) เป็นประจำ บ่อยๆ ทุกวันได้ก็ยิ่งดี การรำพึง การอ่านพระคัมภีร์ พระวรสารนั้น เราควรสำนึกเสมอดังนี้
     (i) พระคัมภีร์ พระวรสาร เป็นพระวาจาของพระเจ้า ถูกบันทึกโดยการนำของพระจิตเจ้า
     (ii) พระเจ้า พระคริสต์ ประทับในพระคัมภีร์ พระวรสาร เราคริสตชนพบพระคริสต์ ในการรำพึงอ่านพระคัมภีร์
     (iii) พระคัมภีร์ พระวรสาร เป็นบ่อเกิดแห่งความเชื่อ ชีวิต และพละกำลัง เรารำพึง อ่านพระคัมภีร์เพื่อให้ชีวิตจิตของเราเจริญเติบโต เราจึงควรศึกษาพระคัมภีร์อย่างจริงจัง ค้นหาความหมายที่ลึกซึ้ง จากพระวาจาแต่ละคำ ในชีวิตประจำวันของเรา
     (iv) ความหมาย ความเข้าใจ จากถ้อยคำพระคัมภีร์ / พระวรสาร โดยการนำของพระจิตเจ้า
- ตามตัวอักษร (Literal meaning) พระคัมภีร์ / พระวรสาร
- ความหมายฝ่ายจิตวิญญาณ (spiritual meaning)
- ความหมายลึกซึ้ง (deeper meaning-sensus plenior)
     (v) การตีความพระคัมภีร์/พระวรสารด้วย
- การอ่านแล้ว อ่านอีก รำพึงภาวนาพระคัมภีร์
- เทียบพระธรรมเก่าและพระธรรมใหม่
- คำอธิบายของนักเทววิทยา (exegesis)
     (vi) เราอ่านพระคัมภีร์/พระวรสาร และให้พระคัมภีร์/พระวรสาร อ่านเรา (We go through the Bible&the Bible goes through us) หมายความว่า เมื่อเราอ่าน/รำพึงพระคัมภีร์แล้ว เราก็นำไปปฏิบัติในชีวิตด้วย เราควรให้พระวาจาจากพระคัมภีร์แต่ละคำ เป็นพระวาจาแห่งชีวิตแห่งการกระทำที่มีความหมายในชีวิตของเรา
     (vii) นักบุญออกัสตินกลับใจ เพราะได้ยินเสียงคำสั่ง Tolle lege (Take and read – จงหยิบ (พระคัมภีร์) ไปอ่าน) พระคัมภีร์ พระวรสารได้ฟื้นฟูชีวิตใหม่ให้แด่นักบุญองค์นี้ เช่นกัน พระคัมภีร์ พระวรสารก็สามารถฟื้นฟูชีวิตของเราด้วย
(หมายเหตุ) : นักบุญออกัสตินหยิบพระคัมภีร์และเปิดแบบเดาสุ่ม และ ข้อความที่ปรากฏต่อตาของนักบุญ เป็นบทจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโรม บทที่ 13 ตอนที่ 13-14 ดังนี้
“เราจงดำเนินชีวิตอย่างมีเกียรติ เหมือนกับเวลากลางวัน มิใช่กินเลี้ยงเสพสุราเมามาย มิใช่ปล่อยตัวเสพกามอย่างผิดศีลธรรม มิใช่วิวาท ริษยา แต่จงดำเนินชีวิตโดยสวมพระเยซูคริสตเจ้าเป็นอาภรณ์ อย่าทำตามความต้องการของเนื้อหนัง”
ถ้อยคำเหล่านี้ได้สะกิดใจนักบุญออกัสตินให้กลับใจ
     ด้วยความเข้าใจในการอ่าน รำพึงพระคัมภีร์/พระวรสาร ดังกล่าวข้างต้น เราจึงพอจะสรุปชีวิตวิญญาณ ชีวิตจิตของเราได้ดังนี้
ในระดับชีวิตวิญญาณ / ชีวิตจิต : ด้วยพระพรแห่งความเชื่อจากคุณพ่อ คุณแม่ และชีวิตพระหรรษทานจากศีลล้างบาป เราเริ่มรู้ รู้จักรักพระเจ้า และด้วยการรำพึง อ่านพระคัมภีร์/พระวรสาร ชีวิตคริสตชนเราก็จะลึกซึ้งขึ้นทำให้เราสำนึกตระหนักว่า ชีวิตของเราบนโลกนี้มิใช่เพื่อตัวของเราเอง แต่เพื่อพระองค์ โดยผ่านทางเพื่อนพี่น้องของเราเองบนโลก
     เมื่อเราเข้าใจถึงพระคัมภีร์ / พระวรสาร อย่างถูกต้องเช่นนี้แล้ว เราจึงควรให้ พระคัมภีร์/พระวรสาร ได้ถูกนำมาปฏิบัติในชีวิตของเรา ถึงแม้เวลาของเราจะห่างจากพระองค์มากมายสองพันปีมาแล้วก็ตาม ทั้งนี้ เพราะพระวาจาของพระองค์ “ไม่ตาย” และ “ไม่ล้าสมัย” และ “ทรงชีวิต” อยู่ตลอดเวลา และเมื่อชีวิตจิตของเรามีรากฝังในพระเจ้าเช่นนี้แล้ว จิตใจของเราก็เป็นฐานที่ดีสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เราปฏิบัติในหน้าที่รับผิดชอบ (กระแสเรียก) ของเราและต่อผู้อื่น ในบริบทต่างๆ
เห็น ด้วยใจ ถ้าไม่ใช่จากใจ ก็เหมือนกล้องถ่ายรูป
ฟัง ด้วยใจ จึงจะรู้ซึ้งถึงใจ ร่วมชีวิต
พูด ด้วยใจ จึงไม่พูดพล่อยๆ
ให้ ด้วยใจ เป็นการให้เกียรติ ศักดิ์ศรีแก่ผู้รับ
ทำงาน ด้วยใจ ด้วยความทุ่มเทยินดี
ต้อนรับ ด้วยใจ อบอุ่น มีที่ในหัวใจสำหรับทุกคน
อภัย ด้วยใจ สงบ คืนดี
ทุกข์บาป ด้วยใจ กลับใจ
     นมัสการพระเจ้าด้วยใจอย่างสุดซึ้ง ด้วยกาย วาจา ใจ วิญญาณ สติปัญญา กำลัง มิฉะนั้น เราจะเป็นเสมือนเครื่องจักร
     และ “ด้วยใจ” นี้ เราสามารถอ่าน รำพึงพระคัมภีร์ / พระวรสาร เพื่อให้พระคัมภีร์/พระวรสาร ได้อ่านเราทุกวัน เพื่อเราจะได้หยุดนิ่ง รำพึง และฟังว่าพระองค์จะให้เราทำอะไร อย่างไร
ในชีวิตมนุษย์ เราต้องผ่านโรงเรียนมาแล้วทุกคน คำว่า “โรงเรียน” ภาษาอังกฤษ school มีรากศัพท์จากภาษาละติน schola ซึ่งแปลว่า “เวลาว่าง” (free time) คำๆนี้ดั้งเดิม หมายถึง การจัดเวลาของเราให้ว่าง พักจากการทำงาน เว้นวรรคจากหน้าที่ประจำวัน เพื่อมีเวลาสำหรับการคิดพินิจ รำพึงภาวนา (CONTEMPLATE) ถึงความมหัศจรรย์ใจ (MIRACLES) และ ความเร้นลับ (MYSTERIES) ของชีวิต และรหัสธรรมล้ำลึกของพระเจ้า (THE MYSTERIES OF GOD) การผ่านโรงเรียนจึงทำให้มนุษย์เรามีความรู้ ความรู้ในที่นี้ หมายถึง การรู้จักความจริง (truth) ความดี (the goodness) ความสวยงาม (the beauty) ของชีวิต นั่นคือ การรู้ รู้จัก และรักพระเจ้าในที่สุด
     ในชีวิตของเรา ในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยกิจการ กิจกรรม ธุรกิจมากมาย มีการนัดหมายพบปะกันแทบทุกชั่วโมงของเวลาตื่น ประกอบกับการถูกสื่อต่างๆคุกคามอย่างรุนแรง จึงเป็นการสมควรที่เราจะไปโรงเรียนเสมอๆ นั่นคือ การ “หาเวลาว่าง” (free time) สำหรับตนเอง เราสามารถหาเวลาสำหรับตนเองได้มากมาย โดย
- ตื่นเช้ากว่าปกติสักครึ่งชั่วโมง เพื่ออยู่เงียบๆรำพึง
- หามุมสงบที่บ้าน ในสวน ข้างบ่อน้ำ บ่อปลา ใกล้น้ำตก เพื่อรำพึงภาวนา
- ช่วงเวลาพักเที่ยง ณ ที่ทำงาน ขณะที่คนอื่นไปข้างนอกเพื่อทานข้าวเที่ยง
- ระหว่างชั่วโมงของวัน พยายามหาเวลาสงบ สำนึกถึงการประทับของพระเจ้ากับตนเอง กับบุคคลอื่นรอบข้าง กับสถานที่นั้น กับเหตุการณ์นั้น ยกจิตขึ้นหาพระองค์
- ท่ามกลางความโกลาหลของงาน อุปสรรคของงาน ปัญหาของงาน การเจรจาต่อรอง ฯลฯ แสวงหาพระพร พระปรีชาญาณ การนำของพระเจ้า โดยสงบจิตใจ สำนึกถึงพระองค์
- ก่อนการพักผ่อน ก่อนนอน ทบทวนชีวิตที่เพิ่งผ่านไปในวันนั้น ขอบคุณพระเจ้าสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง ขอโทษพระองค์สำหรับข้อบกพร่อง
ถ้าเราสามารถปฏิบัติตนเยี่ยงนี้ได้ทุกวัน ก็เป็นการแสวงหา ค้นพบ ความล้ำลึกของชีวิต (mysticism of life) มิติความล้ำลึกของชีวิตนี้จะช่วยแสวงหาคำตอบสำหรับคำถามต่างๆของชีวิต อาทิเช่น เราเกิดมาทำไม? เกิดมาทำอะไร? แล้วจะไปไหน? อยู่เพื่อใคร? เชื่ออะไร? เชื่อใคร? ให้เราได้ และคำตอบที่มีเหตุผลเหล่านี้ จะนำเรามนุษย์สู่ “ความเชื่อ” พูดถึง ความเชื่อ (Faith – Fides) สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เคยเขียนอธิบายไว้ในหนังสือของพระองค์ ชื่อ Introduction to Christianity ในปี ค.ศ.1969 (ขณะนั้นท่านเป็นพระคาร์ดินัล รัสซิงเกอร์) ว่า
“ในความเชื่อ คำพูด พระวาจา (the word) มาก่อนความคิด ในปรัชญา ความคิดมาก่อนพระวาจา เมื่อคิดแล้วจึงพูดออกมาเป็นคำพูดตามที่ได้ครุ่นคิดไว้ แต่ความเชื่อนั้น ไมใช่เป็นสิ่งที่เราจะสามารถครุ่นคิดได้เอง แต่เป็นสิ่งที่มาจากข้างนอกตัวเรา เป็นสิ่งที่เราได้ยินก่อน เป็นคำพูดที่ถูกเอ่ยโดยใครคนหนึ่งแก่เราก่อน อาจจะเป็นคำถามที่ถูกถามจากใครคนใดคนหนึ่ง หรืออาจจะเป็นคำท้าทายจากคนใดคนหนึ่ง ทั้งหมดนี้เป็น “คำพูด” (the word0 ก่อน ต่อเมื่อเราได้ยินคำพูดเหล่านี้แล้ว (คำพูด – คำถาม – คำท้าทาย ฯลฯ) ที่ทำให้เราต้องคิด ครุ่นคิด ติดตาม ให้เหตุผลกับตนเอง แล้ว “ความเชื่อ”จึงจะหยั่งรากในจิตใจเราต่อไป”
(Cardinal Joseph Ratzinger ใน Introduction to Christianity, 1969)