30 พฤศจิกายน 60
นักบุญอันดรูว์
อัครธรรมทูต
อันเดรอัสเป็นชื่อกรีกที่ไพเราะมาก ซึ่งมีความหมายว่า “สมเป็นชายชาติบุรุษ”ดูเหมือนว่าท่านจะเป็นคนใจกว้าง มีความพร้อมเสมอ เปิดเผยและมีความกระตือรือร้น นักบุญแอนดรูว์ เป็นบุตรของผู้เฒ่าโยนาแห่งเบธไซดา (มธ. 6,17) เป็นน้องชายของนักบุญเปโตร และได้เป็นลูกศิษย์ของนักบุญยอห์น แบปติสต์ มาก่อนซึ่งได้ทำให้ท่านรู้จักนักบุญยอห์น อัครธรรมทูตด้วย และพร้อมๆกับนักบุญยอห์นนี่เอง ที่ท่านได้ติดตามพระเยซูเจ้าเป็นพวกแรก และเป็นท่านเองที่ได้นำพี่ชายคือ นักบุญเปโตรให้มารู้จักพระเยซูเจ้าอีกด้วย (ยน 1,35-42)
กระบวนการการรับเข้าเป็นคริสตชน(RCIA)ในพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย
ข้อมูลRCIA (เริ่มต้น-ปัจจุบัน)
ในกฤษฎีกาสมัชชาอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ค.ศ. 2005 เรื่องการฟื้นฟูชีวิตและพันธกิจของอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ (บทที่ 5 การฟื้นฟูชุมชนคริสตชน ข้อ 40) และในแผนอภิบาล คริสตศักราช 2010-2015 ของพระศาสนจักรอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เรื่องอภิบาลชุมชนศิษย์พระคริสต์ ร่วมพันธกิจแบ่งปันข่าวดี(บทที่ 2 สร้างและพัฒนาชุมชน ข้อ 21:ค)
และในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย คริสตศักราช 2015 "ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่" (บทที่ 2 "เจริญชีวิต" ข้อ 11 และบทที่5"เครื่องมือและมาตรการเพื่อฟื้นฟูการประกาศข่าวดีขึ้นใหม่" ข้อ 36) ได้ยืนยันการใช้กระบวนการ RCIAเป็นแนวทางในการเตรียมผู้ใหญ่ที่สมัครเข้าเป็นคริสตชน เป็นเครื่องมือที่สำคัญในงานอภิบาลและเสริมสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงพันธกิจการประกาศข่าวดี การสร้างและการพัฒนา รวมถึงหน้าที่ในการต้อนรับ คริสตชนใหม่ในเขตวัดของตน
กระบวนการในการรับผู้ใหญ่เป็นคริสตชน มีทั้งหมด 7 ขั้นตอน
1. ระยะเวลาแห่งการประกาศข่าวดี เริ่มเรียนคริสตศาสนธรรม ( มิถุนายน - พฤศจิกายน )
2.พิธีต้อนรับผู้สมัครเรียนในวันอาทิตย์แรกเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า (อาทิตย์ปลายเดือน พฤศจิกายน) ให้พี่น้องคริสตชนในวัดรู้จักด้วยการประกอบพิธีหลังบทเทศน์ในระหว่างมิสซา มีพี่เลี้ยง (sponsor) และการมอบพระคัมภีร์ให้ผู้สมัคร
3.ระยะเวลาเรียนคำสอน ให้พัฒนาความเชื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้สัมพันธ์กับพระเป็นเจ้าในองค์พระคริสต์
4.พิธีเลือกสรร เมื่อผู้สมัครพร้อมที่จะรับศีลแห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน จึงมีพิธีในวันอาทิตย์แรกเทศกาล มหาพรต พระศาสนจักรรับรองเขา และเรียกเขาว่าคริสตังสำรอง (Catechumens)
5.ระยะเวลาแห่งการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ อยู่ในช่วงเทศกาลมหาพรต 40 วัน เป็นช่วงเวลาไตร่ตรองชีวิต มีประกอบพิธีการพิจารณาความตั้งใจ ในวันอาทิตย์ที่ 3,4 และ 5 เทศกาลมหาพรตตามความ เหมาะสม (กุมภาพันธ์-มีนาคม)
6.พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งการรับเข้าเป็นคริสตชน ผู้ได้รับเลือกสรรจะได้รับศีลล้างบาป ศีลกำลัง และ ศีลมหาสนิทในคืนวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ (Easter Vigil)
7.ระยะเวลาเป็นคริสตชนใหม่ (เมษายน -พฤษภาคม) ช่วงเทศกาลปัสกา (50 วัน) หลังจากรับศีลศักดิ์สิทธิ์ แห่งการเริ่มต้นชีวิตคริสตชน ยังมีการพบปะเรียนคำสอนต่อเนื่องอีก 7 สัปดาห์ เขาจะได้รับ ประสบการณ์ใหม่ เป็นสมาชิกในชุมชนคริสตชน และร่วมมิสซากับพี่น้องคริสตชนในวันอาทิตย์
คริสตชนผู้ใหญ่
การสอนคริสตศาสนธรรมผู้ใหญ่มุ่งไปที่ตัวบุคคล จึงต้องตระหนักอย่างจริงจังถึงประสบการณ์ สภาพแวดล้อม และสิ่งท้าทายต่างๆ ที่พวกเขาประสบอยู่ในชีวิต ปัญหาเกี่ยวกับความเชื่อและความต้องการของพวกเขาที่มีอยู่หลากหลายแตกต่างกัน เราจึงแบ่งผู้ใหญ่แบ่งออกเป็นกลุ่ม 5 กลุ่ม คือ
1. ผู้ใหญ่คริสตชน ที่ดำเนินชีวิตตามความเชื่อของพวกเขาอย่างยึดมั่น สม่ำเสมอ และปรารถนาที่จะเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นในความเชื่อ
2. ผู้ใหญ่ที่รับศีลล้างบาปแล้ว แต่มิได้รับการสอนคำสอนอย่างลึกซึ้งเพียงพอ หรือมิได้รับการชี้นำให้บรรลุถึงเป้าหมายการเดินทางที่เริ่มจากการเข้าเป็นคริสตชน หรือผิดพลาดไปจากความเชื่อจนถึงระดับที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “กึ่งผู้เตรียมตัวเป็นคริสตชน” (CT 44)
3. ผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้รับศีลล้างบาป เป็นผู้ที่สนใจศาสนาคริสต์และปรารถนาที่จะเข้ามาเป็น คริสตชน ต้องมีการเตรียมตัวเป็นคริสตชนอย่างแท้จริงและถูกต้องเหมาะสม (GDC 172)
4. ผู้ใหญ่ที่เตรียมตัวเพื่อรับศีลสมรส (ระหว่างคาทอลิกกับคาทอลิก) ผู้ใหญ่ที่เตรียมเข้าพิธีสมรส (ระหว่างคาทอลิกกับผู้ที่นับถือต่างความเชื่อ) และคำสอนครอบครัว
5. ผู้ใหญ่ในกลุ่มพิเศษ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ผู้พิการ ผู้อพยพย้ายถิ่น ผู้ติดยาเสพติด ผู้ถูกคุมขัง ผู้เดินเรือทะเล ผู้ท่องเที่ยว แรงงานต่างชาติในประเทศ ผู้ขายบริการทางเพศ ผู้มีสภาพจิตเบี่ยงเบน กลุ่มชาติพันธุ์ ฯลฯ
(อ้างอิง: คู่มือแนะแนวการสอนคำสอนในประเทศไทย (TDC ; 2010 ข้อ 42)
กระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชนคาทอลิก
(RCIA - Rite of Christian Initiation of Adults)
คืออะไร
กระบวนการรับผู้ใหญ่เข้าเป็นคริสตชน (RCIA)
หลายวัดมีการจัดสอนคริสตศาสนธรรมแก่ผู้ใหญ่ที่สนใจชีวิตคริสตชน โดยจัดสอนเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ หรือในวันธรรมดา และพยายามปฏิบัติตามขั้นตอนและพิธีการตามที่พระศาสนจักรพยายามรื้อฟื้นนำแบบสมัยแรกเริ่มมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบันอีกครั้ง หลายวัดจัดพิธีศีลล้างบาปเสร็จแล้ว ก็ไม่มีการติดตาม
เนื่องจากยุคแรกของการเริ่มศาสนาคริสต์ ผู้สนใจศาสนาต้องรับการอบรมเป็นระยะเวลา 2-3 ปี ไม่รีบเร่งให้คนรับพิธีศีลล้างบาปมากๆ หรือเป็นแค่พิธี แต่ตัวผู้สนใจยังไม่พร้อม ต่อมาในศตวรรษที่ 6 ผู้คนเริ่มยอมรับวิถีชีวิตแบบชาวคริสต์มากขึ้น ยิ่งเมื่อผู้นำครอบครัวหรือผู้นำหมู่บ้านศรัทธา สมาชิกในครอบครัว สมาชิกในหมู่บ้านก็รับความเชื่อตามผู้นำ การเอาใจใส่อบรมคำสอนแบบเข้มข้นจึงลดลง ยิ่งมีการโปรดศีลล้างบาปแก่เด็กทารกมากขึ้น การติดตามสอนคำสอนแก่พวกเขา เวลาที่โตขึ้นเป็นวัยรุ่น เป็นเยาวชน และเป็นผู้ใหญ่ก็ยิ่งลำบาก เพราะถือว่าการเรียนคำสอนเป็นเรื่องของเด็กๆ อีกทั้งหาเวลามาเรียนก็ยากขึ้น การดำเนินชีวิตจึงไม่ลึกซึ้ง อาจเป็นคริสตชนแต่ชื่อเท่านั้น คริสตชนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับพระคัมภีร์