Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

Sahafr

บาทหลวงอนุรัตน์ ณ สงขลา

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

8 กันยายน แม่พระบังเกิด

     เราก็รู้แล้วว่าการฉลองแม่พระที่สำคัญๆนั้น มีต้นกำเนิดมาจากทางพระศาสนจักรตะวันออกหรือพระศาสนจักรที่พูดภาษากรีก เช่นเดียวกัน สำหรับการฉลองแม่พระบังเกิด เป็นพระสันตะปาปาแซร์จิอุสที่ 1 ซึ่งเป็นพระสันตะปาปาที่มีเชื้อสายทางพระศาสนจักรตะวันออก ได้เป็นผู้ที่นำเข้ามาสู่พระศาสนจักรลาตินในปลายศตวรรษที่ 7
     เดิมทีเดียวการฉลองในวันนี้เป็นวันฉลอง “คล้ายวันเสกวิหารนักบุญอันนา ที่กรุงเยรูซาเล็ม” ที่จริงตามคำบอกเล่าที่เราได้สืบทอดต่อกันมาว่า เป็นสถานที่นี้เองที่เป็นที่พำนักอาศัยของนักบุญยออากิมและนักบุญอันนาซึ่งมีเชื้อสายจากกษัตริย์ดาวิด ท่านทั้งสองเป็นบิดามารดาของพระนางมารีอา

     อย่างไรก็ตาม เป็นหน้าที่ของเราที่จะค้นหาความจริงที่ลึกซึ้งในการฉลองแม่พระบังเกิดนี้ นั่นก็คือ การที่พระคริสตเจ้าทรงเสด็จมารับสภาพมนุษย์ พระคริสตเจ้านั้นได้รับการตระเตรียมจากพระบิดาเจ้านานนับเป็นศตวรรษ บุคลิกภาพแห่งการเป็นพระเจ้าของพระผู้ไถ่กู้เหนือทุกสิ่ง อย่างไม่มีขอบเขต ยากที่มนุษย์คนใดจะสามารถให้กำเนิดพระองค์ได้ ดังนั้น ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติจึงต้องค่อยๆดำเนินไปด้วยความยากลำบากยิ่งในการตระเตรียมเงื่อนไขที่จำเป็น ต่างๆ สำหรับการเสด็จลงมารับสภาพมนุษย์ของพระบุตรพระเป็นเจ้า
     ฉะนั้น ความศรัทธาภักดีของคริสตชนจึงต้องการจะแสดงออกซึ่งความคารวะต่อบุคคล และเหตุการณ์ที่ได้มีส่วนร่วมในการตระเตรียมการบังเกิดของพระคริสตเจ้าในทุกๆระดับ ไม่ว่าจะเป็นในระดับมนุษย์ปุถุชนธรรมดาหรือในระดับพระหรรษทานเหนือธรรมชาติก็ตาม นั่นก็คือพระมารดาของพระองค์ การบังเกิดของพระนาง การปฏิสนธิของพระนาง บิดามารดาของพระนางและแม้กระทั่งบรรพบุรุษของพระนางด้วย (มธ 1:1-16 : 18-23)
     การเชื่อในเหตุการณ์ที่ได้เตรียมไว้สำหรับการเสด็จลงมารับสภาพเป็นมนุษย์ของพระบุตรพระเป็นเจ้า หมายความว่า เชื่อในความเป็นจริง แห่งการเสด็จลงมารับสภาพมนุษย์ของพระบุตรพระเป็นเจ้านั่นเอง ทั้งเป็นการยอมรับถึงความจำเป็นในการร่วมส่วนในกิจการของมนุษย์ ในการที่จะทำให้การช่วยให้โลกได้รอดสำเร็จไปด้วย
     ความศรัทธาภักดีที่แท้จริงต่อพระนางมารีอาต้องนำเราไปหาพระเยซูเจ้าเสมอ และการฉลองพระนางมารีอามีจุดยอดอยู่ที่พิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1. ขอให้การบังเกิดของพระนางมารีอา มารดาของเราทุกคน เตือนเราให้คิดถึงสันติภาพด้วยเถิด
2. ข้าแต่พระนางมารีอา โปรดช่วยให้เรามีความสัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับพระเยซูเจ้า และในระหว่างพวกเรากันเองและในพระเป็นเจ้าด้วย
3. ข้าแต่พระนางมารีอา โปรดช่วยเสนอให้เราสักวันหนึ่งได้บังเกิดใหม่โดยได้รับชีวิตใหม่ในเมืองสวรรค์
(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, สมุทรปราการ, บ.สตาร์บูม อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2007, หน้า 353-354)

 

ศึกษาพระคัมภีร์

Catholic bible

ค้นหา

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

bkk2020

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เรื่องมาตรการและแนวทางภาคปฏิบัติ

เพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสตศาสนิกชนคาทอลิก

แรงจูงใจในการประกาศพระวรสาร

 

บทความดีดี