Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

Sahafr

บาทหลวงอนุรัตน์ ณ สงขลา

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

1 พฤศจิกายน
สมโภชนักบุญทั้งหลาย

     ตั้งแต่แรก พระคัมภีร์ได้สงวนนามนี้ “นักบุญ” หรือ “ผู้ศักดิ์สิทธิ์” ไว้สำหรับพระยาห์เวห์แต่ผู้เดียว เพราะว่าพระผู้เป็นเจ้าคือ “อีกผู้หนึ่ง” หรือ “ผู้อื่น” ซึ่งอยู่นอกเหนือสิ่งทั้งหลาย พระองค์ทรงอยู่ห่างไกลจากเราเหลือเกิน จนเราไม่สามารถจะคิดได้ว่า เราจะสามารถมีส่วนร่วมในชีวิตของพระองค์ได้อย่างไร เมื่อมาอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นองค์ความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง (ปฐก 28, 10-19: 1 ซมอ 6,13-21: 2ซมอ 6, 1-10) มนุษย์ไม่สามารถจะทำอะไรอย่างอื่นได้ นอกจากกราบไหว้นมัสการและยำเกรงพระองค์ (อพย 3, 1-6: ปฐก 15,12)

     ในศาสนาที่สามารถช่วยให้รอดได้เช่นของพวกอิสราเอล พระผู้เป็นเจ้าเองต้องเป็นผู้ประทานความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ให้แก่ประชากรของพระองค์ (อสย 12, 6 : 29, 19-23 : 30, 11-15 : 31, 1-3) ซึ่งตัวเขาเองได้กลายเป็น “อีกผู้หนึ่ง” เหมือนกัน โดยเขาจะประพฤติตนแตกต่างไปจากชนชาติอื่นๆ จากการเจริญชีวิตประจำวันของพวกเขา และเป็นต้น จากการแสดงออกของพวกเขาโดยทางพิธีจารีตต่างๆ (ลวต 19,1-37 : 21, 1-23 : วว 4,1-11) แต่ว่าเพื่อจะสามารถบันดาลให้ความศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านี้บรรลุผลสำเร็จตามที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงเรียกพวกเขามายังความศักดิ์สิทธิ์นั้น ประชากรผู้ได้รับเลือกสรรไม่มีวิธีการอะไรอย่างอื่นนอกจากกฎข้อบังคับต่างๆ และการปฏิบัติการชำระล้างให้สะอาดหมดจดทางด้านภายนอกเท่านั้น ไม่ช้าไม่นาน พวกเขาได้มีจิตสำนึกถึงความไม่เพียงพอของวิธีการต่างๆเหล่านี้ พวกเขาจึงได้เจาะจงแสวงหาวิธีการใหม่ที่จะสามารถช่วยพวกเขาให้ได้มีส่วนในชีวิตของพระผู้เป็นเจ้า วิธีการใหม่นี้ก็คือ “หัวใจที่สะอาดบริสุทธิ์” (อสย 6, 1-7: สดด 14 : อสค 36,17-32 : 1 ปต 1,14-16) พวกเขาได้ตั้งความหวังไว้ว่า ความศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเขาจะได้รับนั้นต้องมาจากพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง (อสค 36,23-28)
     ความหวังหรือความปรารถนาอันนี้ ได้สำเร็จหรือได้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาในองค์พระคริสตเจ้า ในตัวพระองค์เอง ความศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงฉายแสงออกมาให้ปรากฏในตัวพระองค์ และ “พระจิตแห่งความจริง” ทรงสถิตอยู่ในพระองค์ พระองค์ได้ทรงรับตำแหน่ง “องค์ความศักดิ์สิทธิ์” (ยน 3, 1-15 : 1 คร 3, 16-17 : กท 5, 16-25 : รม 8, 9-14) และอันที่จริงพระองค์ได้ทรงเสด็จมาในโลกนี้ ก็เพื่อจะช่วยมนุษยชาติได้กลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์
     พระเยซูคริสตเจ้า พระองค์ได้ทรงกลายเป็น “พระสวามีเจ้า” และได้ทรงถ่ายทอดความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์นี้ให้แก่พระศาสนจักรของพระองค์ โดยอาศัยความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ที่ประทานชีวิตของพระผู้เป็นเจ้าให้แก่มนุษย์ (มธ 13, 24-30 : 25, 2: คส 1, 22: 2 คร 1, 12)
     ในศตวรรษแรกๆ คำสอนเรื่องนี้มีชีวิตชีวามากจนว่าสมาชิกของพระศาสนจักรในเวลานั้นไม่ได้ลังเลใจที่จะเรียกตัวเองว่า “นักบุญ” เลย (2 คร 11,12 : รม 15,26-31 : อฟ 3, 5-8 : 4, 12) และพระศาสนจักรเองก็ถูกเรียกว่า “สหพันธ์นักบุญ” สำนวนนี้เรายังจะพบได้อีกในบท “ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระผู้เป็นเจ้า”ซึ่งมีต้นกำเนิดจากกลุ่มคริสตชนที่มาร่วมถวายบูชามิสซาและมีส่วนร่วมใน “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” จึงกลายเป็น “ผู้ศักดิ์สิทธิ์” หรือ “นักบุญ”ดังนั้น ความศักดิ์สิทธิ์หรือความเป็นนักบุญของคริสตชน จึงอยู่ที่การมีส่วนร่วมในชีวิตของพระผู้เป็นเจ้าโดยอาศัยวิธีการต่างๆของพระศาสนจักร เป็นต้น โดยทางศีลศักดิ์สิทธิ์
     ความศักดิ์สิทธิ์นี้มิใช่เกิดจากความพยายามของมนุษย์ที่พยายามจะบรรลุถึงพระผู้เป็นเจ้าโดยอาศัยกำลังของตนเอง แม้จะประกอบกิจกรรมขั้นวีรกรรมก็ตาม แต่ว่าความศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นพระหรรษทานที่ให้เปล่าแห่งความรักของพระผู้เป็นเจ้า นอกนั้นยังเป็นการตอบสนองของมนุษย์ต่อการเริ่มอันนี้ของพระผู้เป็นเจ้าอีกด้วย
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1. ขอให้ผู้ที่ร้องไห้ ได้รับการปลอบโยน ขอให้ผู้ที่หิวกระหายความยุติธรรม ได้อิ่มหนำ และขอให้ผู้มีใจเมตตา ได้รับความเมตตาเช่นกัน
2. ขอให้บูชามิสซาและศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ช่วยแปรสภาพพวกเราให้กลายเป็น “ผู้ศักดิ์สิทธิ์” กลายเป็น “นักบุญ” ด้วยเถิด
(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, นครปฐม, วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน, 1985, หน้า 447-448)

ศึกษาพระคัมภีร์

Catholic bible

ค้นหา

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

bkk2020

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เรื่องมาตรการและแนวทางภาคปฏิบัติ

เพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสตศาสนิกชนคาทอลิก

แรงจูงใจในการประกาศพระวรสาร

 

บทความดีดี