Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

Sahafr

บาทหลวงอนุรัตน์ ณ สงขลา

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

กระแสเรียก ชีวิตพระสงฆ์และชีวิตนักบวช ในศตวรรษที่ 21

1- ผลกระทบของสภาพสังคมแห่งโลกาภิวัตน์บนวัฒนธรรมของมนุษยชาติ
ก. ผลกระทบด้านลบ
- โลกเป็นหนึ่งเดียว เป็นครอบครัวใหญ่เดียวกัน
- ปกครองดูแลบริหารโดยผู้มีความรู้ความสามารถ (elite)
- มีอิทธิพลด้านวัตถุนิยม (materialism) อุปโภคนิยม (comsumerism) ปัจเจกนิยม (individualism) เป็นคนของโลกมากกว่าเป็นคนของพระเจ้า (secular)
- แข่งขันกันมากขึ้น ยังผลให้เกิดการแตกแยก ไม่รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน การสู้รบสงครามเกิดขึ้นต้นเหตุจากเชื้อชาติ (racial) วัฒนธรรม (cultural) และศาสนา (religious)

ข. ประเด็นที่มุ่งหวัง
- เราต้องการพระสงฆ์ นักบวชที่มีจิตตารมณ์ความเป็นหนึ่งเดียว (Communion) อย่างแท้จริง
- คุณค่า ศักดิ์ศรีของมนุษย์เหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด เมื่อตระหนักข้อนี้แล้ว การแสวงหาขวนขวาย ทางด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ การปกครอง จะมุ่งสู่ความเป็นอยู่ (being) ที่ดีของมนุษย์ทุกคน
- โลกาภิวัตน์ที่แท้จริง ต้องมีความสงบ ความสุข ความสันติที่แท้จริง
2. – ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ต่อสถาบัน ต่อผู้นำ ถดถอยลง
ก.- ผลกระทบด้านลบ
- สถาบันต่างๆ ของสังคมมนุษย์ตลอดจนผู้นำของสถาบันนั้นๆ ด้อยคุณภาพทางด้านความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ ในสายตา และประสบการณ์ชีวิตของผู้ที่ถูกปกครอง คำมั่นสัญญาต่างๆ ของผู้นำ ไม่ได้รับการปฏิบัติให้เป็นจริง
- สถาบันการเมือง การเงิน การทหาร มีพฤติกรรมเสื่อมเสีย เสียชื่อเสียง ไม่น่าไว้วางใจ
- ผู้นำถูกตำหนิ ถูกตัดสินให้ต้องรับผิดชอบ
- สงสัยในความหมายที่แท้จริงของอำนาจปกครอง (authority)
ข.- ประเด็นที่มุ่งหวัง
- ความหมายที่แท้จริงของชีวิตพระสงฆ์และนักบวช
- ความหมายที่แท้จริงของ “อำนาจศักดิ์สิทธิ์” (sacred authority) ของศีลบวชพระสงฆ์ (Priestly Ordination) และชีวิตนักบวช (consecrated life)
- อำนาจศักดิ์สิทธิ์จากชีวิตสงฆ์และนักบวช ก็คือการ “รับใช้” (service) และ “การติดตามพระเยซูคริสตเจ้า” อย่างแท้จริง (authentic following of Jesus Christ)
3. – การกีดกันคนยากจนจากสังคม
ก. – ผลกระทบด้านลบ
- คนยากจนถูกกีดกัน แบ่งแยกออกในระดับต่างๆกัน
- จากหมู่บ้านตนเอง จากเมือง จากประเทศ
- ประเทศยากจน ถูกกีดกันจากสถาบันกลางของโลกนานาชาติ ไม่มีเสียงในการพูดคุยเจรจาในเวทีโลก แม้กระทั่งในบางประเด็นที่เกี่ยวกับประเทศตนเองด้วยซ้ำ
- คนจน ยากจนทางวัตถุ ตกต่ำในความเป็นอยู่ประจำวัน ไม่มีสิทธิทางสังคม ไม่มีเสียงทางการเมือง ไม่มีกำลังปกป้องตัวเอง
- ชีวิตคนยากจน ยากจนลงทุกด้าน
- ความเป็นอยู่ (being)
- ความจำเป็นของชีวิต 4 ประการ (having)
- ด้านสังคมและวัฒนธรรม (socially & culturally)
- ด้านศีลธรรมและศาสนา (morally & religiously)
ข. – ประเด็นที่มุ่งหวัง
- พระสงฆ์และนักบวชจำต้องเดินหาคนยากจน เป็นบ้านให้เขา
- พระสงฆ์และนักบวชต้องสำนึกถึงองค์พระเยซูคริสต์ ในคนยากจน
- สร้างชุมชนสำหรับคนยากจน
- เรียกศักดิ์ศรีมนุษย์คืนมาให้เขา (คนยากจน)
-ฟูมฟักความดีงาม พระพรต่างๆ ของเขาให้มีโอกาสแสดงออกเจริญเติบโตขึ้น
- ส่งเสริมส่วนร่วมจากเขาทุกคนโดยไม่ต้องเกรงกลัว
- สนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางความเป็นอยู่ของเรา
- พระสงฆ์และนักบวชต้องเป็นกระจกเงาแห่งความรักของพระเยซูคริสต์ สำหรับคนยากจน
4. การแสวงหาวิญญาณ
ก. – ผลกระทบด้านลบ
- ความเจริญก้าวหน้าของโลกาภิวัตน์ บดบังความสวยงามของโลกธรรมชาติ ทำให้โลกดิ้นรนมากขึ้น ไม่หยุดนิ่ง
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านการแพทย์ การติดต่อสื่อสารด้านเศรษฐศาสตร์ ทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เราดีขึ้นก็จริง แต่ในขณะเดียวกัน มนุษย์เราก็ถามตัวเองว่า ความหมายที่แท้จริงของชีวิตคืออะไร?
- มนุษย์แห่งโลกาภิวัตน์ มีความเครียดมากขึ้น เบื่อหน่ายชีวิตเร็วขึ้น มากขึ้น
- มนุษย์แห่งโลกาภิวัตน์ แสวงหา “วิญญาณ” ของตนเอง
ข. – ประเด็นที่มุ่งหวัง
- พระศาสนจักรสากล ในฐานะชุมชนของประชากรพระเจ้า ในฐานะชุมชนแห่งความเชื่อที่แท้จริงอยู่ในฐานะที่จะมอบ “วิญญาณ” นี้แก่มนุษย์ทุกคน
- พระสงฆ์และนักบวชต้องร่วมเดินทางในชีวิตของทุกคนที่สัมผัส ที่อภิบาลติดต่อดูแล ที่ร่วมชีวิต
- พระวรสารข่าวดีของพระเยซูคริสต์ เป็นแสงสว่างที่จะให้ความหมายแก่ชีวิตต้องได้รับการประกาศเผยแผ่แก่ทุกคน โดยพระสงฆ์และนักบวชทุกคน
- ชีวิตพระสงฆ์และนักบวชทุกคน ต้องเป็นเสมือนจิตวิญญาณที่โลกกำลังแสวงหา
- จากประจักษ์พยานถึงชีวิตที่เรียบง่าย ยากจน บริสุทธิ์ และนบนอบ ประชากรโลจะเห็นชีวิตที่อุทิศเสียสละแก่พระเจ้าและแก่เพื่อนมนุษย์
- ท่ามกลางโลกที่วุ่นวายจนหัวหมุน ในการค้นหาวิญญาณของตนนั้น พระศาสนจักรยังสามารถมอบทางออกให้โดยผ่านทางพระสงฆ์และนักบวชที่ฝังรากชีวิตตนเองในพระวาจาพระเจ้า
สรุป
พระสงฆ์และนักบวช เป็นบุคคลกลุ่มแรกที่สะท้อนภาพลักษณ์ของพระศาสนจักรและพระศาสนจักรท้องถิ่นแก่ประชากรโลก
ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายแห่งความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการต่างๆของโลก โลกกลับเสียศูนย์แห่งการดำเนินชีวิตของตน กลับแสวงหา ไขว่คว้าค้นหาความหมายแห่งชีวิต ค้นหาวิญญาณของตน
เป็นพระสงฆ์และนักบวชเองที่จะเป็นผู้ปรับศูนย์การดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ ที่เร่งด่วน ที่ให้ได้ผลทันทีนี้ ให้มี ศูนย์ชีวิตบนพระเจ้า
+ ณ ที่ชีวิตถูกกลืนโดยโลกาภิวัตน์ เราต้องการพระสงฆ์และนักบวช ที่สร้างชุมชนแห่งความรัก ความเป็นหนึ่งเดียวกัน
+ ณ ที่ซึ่งความศรัทธาในสถาบันและผู้นำเสื่อมถอยลงเราต้องการพระสงฆ์และนักบวช ที่ให้อำนาจศักดิ์สิทธิ์ในการรับใช้เพื่อนมนุษย์ (Service – Love)
+ ณ ที่คนยากจนถูกกดขี่ กีดกันเราต้องการพระสงฆ์และนักบวช ที่จะนำพระวาจา พระเจ้า (Gospel – word of god) นำแสงสว่างส่องชีวิตให้แก่ประชากรโลก
(สรุปเนื้อหาจากการบรรยายของพระคาร์ดินัล Louis Antonio G. Tagle, archbishop of Manila, Philippine
Priest and Religious of the 21st Century ในที่ประชุมเซอร์ร่าสากล ครั้งที่ 63 วันที่ 24 มิถุนายน 2005 ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย)
ที่มา : ราฟาแอล, 2016 ชีวิตนี้ห้ามสอบตก, กรุงเทพฯ หน้า 93 -100

ศึกษาพระคัมภีร์

Catholic bible

ค้นหา

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

bkk2020

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เรื่องมาตรการและแนวทางภาคปฏิบัติ

เพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสตศาสนิกชนคาทอลิก

แรงจูงใจในการประกาศพระวรสาร

 

บทความดีดี