Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

 imageedit 1 6373507384

บาทหลวงปิยะชาติ   มะกรครรภ์

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

28 สิงหาคม นักบุญ ออกัสติน (354 – 430) พระสังฆราชและนักปราชญ์

     นักบุญ ออกัสติน เกิดที่เมืองทากาสท์ (ปัจจุบันคือเมือง ซุคอาห์ราส ในประเทศอัลจีเรีย) ท่านได้ผ่านวัยหนุ่มมาอย่างโชกโชนและค่อนข้างเหลวแหลก แต่ท่านได้กลับใจอย่างน่าอัศจรรย์เมื่อมีอายุได้ 32 ปี โดยได้รับศีลล้างบาปจากนักบุญอัมโบรซีโอที่เมืองมิลาน ท่านได้กลับสู่อาฟริกาบ้านเกิดเมืองนอนของท่านหลังจากความตายของนักบุญมอนิกา ผู้เป็นมารดา และได้อุทิศชีวิตที่เหลือแด่พระเป็นเจ้าอย่างสิ้นเชิง โดยได้เจริญชีวิตแบบนักบวช ท่านได้บวชเป็นพระสงฆ์ และต่อมาก็ได้รับอภิเษกเป็นพระสังฆราชของเมืองฮิปโป (ใกล้ๆกับเมืองโบนาในประเทศอัลจีเรียในปัจจุบัน)

     นักบุญ ออกัสติน ได้ออกแรงทำงานต่อสู้กับบรรดาเฮเรติก และกับผู้ที่หลงผิดไปเป็นเวลานานเกือบ 40 ปี เช่น พวกนิยมลัทธิมานีเค พวกโดนาติสต์ พวกเปลาเจียน และพวกนิยมอารีอุส ท่านโดยได้ทิ้งผลงานเขียนไว้มากมาย เช่น Confessions, City of God, ฯลฯ
     นักบุญ ออกัสติน เป็นอัจฉริยะของโลก กอปรด้วยสติปัญญาที่ลึกซึ้งอย่างหาตัวจับยาก มีจินตนาการที่กว้างไกล และมีหัวใจที่ไม่รู้จักอิ่มในการแสดงความรักต่อพระเป็นเจ้าที่ได้ทรงสร้างท่านมา ท่านได้ทำการพัฒนาเทววิทยาสมัยก่อนท่านเสียใหม่ เป็นผู้ที่มีนิสัยใจกว้างและรู้จักเห็นใจผู้อื่น สามารถให้อภัยคนอื่นได้ง่ายๆ แม้กระทั่งศัตรูของท่านด้วย ท่านรู้จักสอดแทรกอารมณ์ขันลงไปด้วย ชีวิตภายในและวินัยของนักบวชในทุกยุคทุกสมัยนอกจากคณะนักบวชออกัสตินแล้ว ยังมีนักบวชทั้งชายและหญิงอีกจำนวนไม่น้อยที่ได้ถือวินัยที่ท่านได้ตั้งขึ้นด้วย ทั้งเคารพนับถือท่านเหมือนบิดา
     นักบุญ ออกัสติน เป็นปิตาจารย์ชั้นเลิศ และเป็นนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ท่านแรกในจำนวน 4 ท่าน ของพระศาสนจักรลาติน (อีก 3 ท่าน คือ นักบุญอัมโบรซีโอ นักบุญ เยโรม และนักบุญเกรกอรี่องค์ใหญ่ พระสันตะปาปา)
     มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยได้มีความรู้สึกถึงความเป็น “ออกัสติน”ของท่าน คือ นักวิจารณ์สมัยใหม่ได้รู้จักรื้อฟื้นเอารูปแบบของคนๆหนึ่งที่พูดอย่างซื่อๆ และด้วยความจริงใจถึงตัวเองขึ้นมาให้ปรากฏแก่สายตาของชาวโลกอีกครั้งหนึ่ง แต่สิ่งที่น่าพิศวงยิ่งขึ้นในนักบุญออกัสติน คือ ความสามารถที่มองเข้าไปในตัวเองและในคนอื่น ความสามารถที่จะรู้จักสำรวจดูอารมณ์ของตนเอง ความสามารถที่จะรู้จักยอมรับความบาปผิดและความหลงผิดของตน และที่สุดท่านมีความสามารถที่จะเปลี่ยนทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นการยอพระเกียรติพระผู้เป็นเจ้า (เทียบ 1 คร 4,7) นอกจากนี้ท่านยังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเพื่อพระศาสนจักรนับเป็นพันๆชิ้นอีกด้วย
     นักบุญ ออกัสติน ได้ทำให้การชุมนุมกันเพื่อจะร่วมกันถวายบูชามิสซา เป็นจุดศูนย์กลางของชีวิตของบรรดาสัตบุรุษ บทเทศน์สอนจำนวนนับไม่ถ้วนของท่านได้แสดงให้เราเห็นว่าท่านรู้จักดัดแปลงพระวาจาของพระเป็นเจ้าให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของคนในสมัยของท่านอย่างไรบ้าง
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1. ขอให้ศีลมหาสนิทเป็นหัวใจของชีวิตพระศาสนจักร
2. ขอให้เราได้ทวีความเชื่อของเราในองค์พระเยซูเจ้า พระองค์ซึ่งกำลังทำงานอยู่ในพระศาสนจักร
3.ขอให้นักบุญ ออกัสติน ได้ช่วยเสนอต่อพระผู้เป็นเจ้าให้เราได้มีความสำนึกที่มีชีวิตชีวาที่เราต้องมีต่อพระศาสนจักร
(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, สมุทรปราการ, บ.สตาร์บูม อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2007, หน้า 344 - 346)