Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

 imageedit 1 6373507384

บาทหลวงปิยะชาติ   มะกรครรภ์

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

17 มีนาคม นักบุญ ปาตริก (385? – 461) พระสังฆราช

     นักบุญปาตริก เป็นธรรมทูตและองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ เชื่อกันว่าท่านคงเกิดในประเทศอังกฤษ ท่านโดนพวกโจรสลัดไอริชจับและถูกขายไปเป็นทาสในประเทศไอร์แลนด์ เมื่อท่านสามารถหลบหนีไปได้ ท่านก็ยังมีความคิดและอุดมการณ์ว่าจะต้องทำให้พวกชาวไอริชพวกนี้กลับใจให้ได้ ท่านได้เข้าเป็นฤาษีที่เมืองตูรส์ ได้รับการศึกษาที่เมืองโอแซร์ เป็นลูกศิษย์ของนักบุญแยร์มาโน ท่านได้ไปเยี่ยมพวกฤาษีในประเทศอิตาลี ต่อมาได้เป็นสังฆราชในประเทศไอร์แลนด์ ท่านได้พยายามจัดตั้งกลุ่มคริสตชนขึ้นโดยให้เข้ากันได้กับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่พวกเขาอยู่ และท่านเองต้องการมีนักบวชเป็นชาวพื้นเมืองเองด้วย

     แม้ว่าจะมีอุปสรรคและความยากลำบากต่างๆ มากมายก็ตาม แต่งานแพร่ธรรมของท่านก็ได้รับผลสำเร็จอย่างงดงาม ทั้งนี้เราเห็นได้จากการที่ประเทศไอร์แลนด์นับแต่หลายศตวรรษมาแล้ว ได้เป็นแผ่นดินของบรรดานักบุญ และเป็นแหล่งเพาะบรรดาธรรมทูตสำหรับทวีปยุโรป
     ศาสนจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งได้รับ “การถวายบูชามิสซา” จากธรรมประเพณีที่ได้รับสืบต่อกันมาอย่างไม่ขาดตอนอันมีพระคริสตเจ้าเป็นหัวหน้าสูงสุด นักบุญเปาโล เองได้กล่าวยืนยันกับสัตบุรุษชาวโครินทร์ว่า “ข้าพเจ้าได้ถ่ายทอดให้ท่านสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รับจากพระสวามีเยซูคริสตเจ้า” (1 คร 11, 23-26) พระวาจาของพระเจ้ายังคง “รับบังเกิดเอาเนื้อหนัง” อยู่เรื่อยมาในธรรมประเพณีและในการประกอบพิธีกรรมต่างๆของคริสตชน ขอให้ศีลบูชาในวันนี้ได้ช่วยให้ประเทศไอร์แลนด์ได้มี “สันติภาพและเอกภาพ”
     ประเทศไอร์แลนด์นี้เป็นประเทศที่ส่งบรรดาพระสงฆ์และฆราวาสของตนมากกว่า 60 % ให้ไปเป็นธรรมทูตตามประเทศต่างๆ และ “Legio Mariae” หรือ “พลมารี” ก็ถือกำเนิดจากประเทศนี้ ซึ่งเป็นหน่วยงานแพร่ธรรมสมัยใหม่หน่วยหนึ่งที่แพร่หลายไปในหลายๆประเทศ พลมารีนี้ทำงานช่วยนำโลกให้เข้ามาหาพระคริสตเจ้าโดยทางพระแม่มารีอา
คำภาวนาทูลขอและข้อปฎิบัติ
1. ขอให้ธรรมประเพณีคริสตชนที่แท้จริงของประเทศของเราได้รับการบำรุงรักษาไว้
2. ขอให้ศาสนจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งได้มีบูชามิสซาเป็นศูนย์กลางแห่งชีวิตของตน
3. ขอให้ทุกคนที่ร่วมกันถวายบูชามิสซาได้ชิดสนิทสัมพันธ์กันในสันติ
4. ขอให้พลมารีได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดผล
(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, นครปฐม, วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน, 1985, หน้า 93 – 95)