Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

 imageedit 1 6373507384

บาทหลวงปิยะชาติ   มะกรครรภ์

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

4 ตุลาคม นักบุญ ฟรังซิส อัสซีซี (1182 – 1226)
ผู้ตั้งคณะฟรังซิสกัน

     จากวัยหนุ่มที่เอาแต่ความสนุกสนานไม่มีอะไรเป็นแก่นสาร ฟรังซิสก็ได้กลับใจมาหาพระคริสตเจ้า และได้ยึดถือพระวรสารตามตัวอักษรเลยทีเดียว ทั้งได้ใช้ชีวิตในการเลียนแบบพระเยซูเจ้าผู้ยากจน และทำทุกสิ่งทุกอย่างตามน้ำพระทัยของพระผู้เป็นเจ้าพระบิดา และในการเลียนแบบทำตัวให้เหมือนพระเยซูเจ้าอย่างที่สุดนี้เองที่ท่านได้รับรอยแผลอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ “จงยึดเอารอยแผลแห่งพระทรมานของพระคริสตเจ้าไว้ในร่างกายของท่าน” (กท 6.17)

     ฟรังซิสไม่ได้ยึดถือชีวิตนักบวชตามแบบแผนขนบธรรมเนียมที่ได้เคยปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณ ท่านได้สร้างภราดรภาพ และคณะนักบวชฟรังซิสกันที่ใหญ่ๆที่กำเนิดมาจากท่านเช่น Minor, Conventual, Capucine เป็นต้น เพราะได้พบชีวิตแบบอย่างของนักบวชในตัวท่านมากกว่าในกฎวินัยเสียอีก รูปแบบแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของฟรังซิสนั้นได้แผ่ขยายไปทั่วโลกโดยคณะนักบวชชั้นที่สาม และเชื่อมสัมพันธ์ทุกๆคนที่ถือว่า จิตตารมณ์เหนือกว่าตัวอักษรและความรักเหนือกว่าความยุติธรรม
     งานแพร่ธรรมของท่านและการประกาศพระวรสารและคุณความดีได้เข้าไปถึงจิตใจของประชาชนและชนชั้นทางสังคมซึ่งบ่อยๆได้มีการต่อสู้กันเองในระหว่างพวกเขา น้อยคนนักที่จะมีอิทธิพลมากมายอย่างนั้นต่อสังคมในสมัยของตนหรือในสมัยต่อมาก็ตาม เหมือนกับฟรังซิสโก ท่านมีทัศนวิสัยในการมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ดังที่ท่านได้แสดงออกใน “Cantico di frate sole” และความรักที่ท่านมีต่อคนยากจน “Madonna poverta” จิตตารมณ์แห่งพระวรสารของท่านเป็นการฟื้นฟูบูรณะและปฏิรูปอย่างแท้จริงสำหรับชีวิตคริสตชนอันเป็นไปตามครรลองของพระศาสนจักร ดังนั้นจากตัวอย่างของท่านนี่เอง ที่ต้องถือว่าเป็นสารที่มีชีวิตชีวาสำหรับโลกปัจจุบัน นักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ที่สำคัญของประเทศอิตาลีร่วมกับนักบุญคาธารีนา แห่งเซียนา
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ
1.ขอให้นักบุญฟรังซิสได้เป็นผู้เสนอให้เราเป็นผู้ติดตามที่แท้จริงของพระเยซูคริสตเจ้าด้วยเถิด
2. ให้เราเอาชนะความจองหองด้วยความสุภาพ ความยากจน และความรัก
(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, นครปฐม, วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน, 1985 หน้า 407 -408)