Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

 imageedit 1 6373507384

บาทหลวงปิยะชาติ   มะกรครรภ์

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

2 กุมภาพันธ์ ฉลองการถวายพระกุมารในพระวิหาร

     พระศาสนจักรที่กรุงเยรูซาเล็มทำการฉลองการถวายพระเยซูคริสตเจ้าที่พระวิหารในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ คือ 40 วัน หลังจากการบังเกิดของพระองค์ เพราะในขณะนั้น พระศาสนจักรตะวันออกฉลองพระคริสตสมภพในวันที่ 6 มกราคม การที่ใช้ช่วงระยะเวลาห่างกัน 40 วันนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมบัญญัติของพวกชาวฮีบรู ซึ่งได้กำหนดระยะเวลานี้เอาไว้ระหว่างการเกิดมาของเด็กทารกกับการที่ผู้เป็นมารดาต้องชำระล้างตัวให้สะอาดบริสุทธิ์ แต่ว่าเมื่อวันฉลองการถวายพระเยซูคริสตเจ้าที่พระวิหารได้แพร่หลายเข้ามาในพระศาสนจักรตะวันตกในศตวรรษที่ 6 และที่ 7 นั้น วันฉลองนี้ได้เลื่อนมาอยู่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เพราะเราฉลองการบังเกิดมาของพระเยซูคริสตเจ้าในวันที่ 25 ธันวาคม

     ที่กรุงโรม การฉลองนี้ได้นำเอาพิธีกรรมเป็นทุกข์ถึงบาปผนวกเข้ามาไว้ด้วยซึ่งในเวลานั้นทางต่างศาสนาก็ได้มีพิธี “ชำระล้างตัวเองให้บริสุทธิ์” เหมือนกัน แต่พระศาสนจักรได้นำเอาพิธีนี้เพื่อแสดงให้เห็นจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไปหรือที่ตรงข้ามกัน ค่อยทีค่อยไป ที่สุดวันฉลองนี้ได้นำเอาพิธีแห่ที่แสดงความเป็นทุกข์ถึงบาปมาใช้ด้วยเพื่อเป็นการเลียนแบบการถวายพระเยซูคริสตเจ้าที่พระวิหาร ในศตวรรษที่ 7 พระสันตะปาปา แซร์ยีอุส ซึ่งมีเชื้อสายเป็นคนทางพระศาสนจักรตะวันออก ได้สั่งให้แปลบทภาวนาภาษากรีกของวันฉลองนี้ออกเป็นภาษาลาตินและได้นำมาใช้ในพิธีแห่ของจารีตโรมัน ในศตวรรษที่ 10 พระศาสนจักรในประเทศโกล (ประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน) ได้จัดให้มีพิธีเสกเทียนอย่างสง่าสำหรับใช้ในพิธีแห่นี้ด้วย และถัดมาอีกหนึ่งศตวรรษได้มีการนำเอาบทขับร้องที่เรารู้จักกันดีในเวลานี้คือ lumen ad Revelationem และบท nunc dimittis ของผู้เฒ่าสิเมโอนมาใช้ในพิธีวันฉลองนี้ด้วย
     การฉลองการถวายพระเยซูคริสตเจ้าที่พระวิหารมิใช่เป็นรหัสธรรมแห่งความชื่นชมยินดี (ดังในบทรำพึงของการสวดสายประคำ 50 เม็ดแรก) แต่ว่าเป็นรหัสธรรมแห่งความทุกข์โศกแห่งความเจ็บปวด เพราะพระนางมารีอาได้ทรงถวายพระบุตรพระเยซูคริสตเจ้าแด่พระผู้เป็นเจ้าพระบิดา
     อย่าลืมว่า การยกถวายให้เป็นการเสียสละอย่างหนึ่ง
     การฉลองนี้เป็นการเริ่มต้นรหัสธรรมแห่งความทุกข์ทรมานของพระนางมารีอา ซึ่งจะบรรลุถึงจุดสุดยอดที่เชิงไม้กางเขน ไม้กางเขนจะเป็นดาบที่เสียบแทงดวงใจของพระนาง
บุตรหัวปีชาวฮีบรูทุกคนเป็นสัญลักษณ์ที่คงอยู่ตลอดไป และเป็นการระลึกถึงการช่วยให้พ้นจากการเป็นทาสอยู่ทุกๆวัน
     บุตรหัวปีของชาวฮีบรูในประเทศอียิปต์ได้รับการไว้ชีวิต ไม่ได้สัมผัสกับความตาย แต่ว่าพระเยซูคริสตเจ้า, บุตรหัวปีเหมือนกัน พระองค์ไม่ได้รับการไว้ชีวิต โดยอาศัยพระโลหิตของพระองค์ พระองค์จะนำอิสรภาพใหม่และขั้นเด็ดขาดมาให้เราทุกคน
     พฤติกรรมของพระนางมารีอา ที่ทรงถวายพระบุตรนี้ได้รับการแปลออกมาเป็นพฤติกรรมทางพิธีกรรมในการร่วมถวายบูชามิสซาของเราทุกๆครั้ง เมื่อปังและเหล้าองุ่นอันเป็นผลิตผลของแผ่นดินและงานของมนุษย์ ได้ถูกนำกลับมาให้เราในรูปของพระกายและพระโลหิตของพระคริสตเจ้า และนั่นแหละ เราได้มีสันติภาพกับพระองค์ เพราะว่าเราได้พิศเพ่งดูการช่วยให้รอดของพระองค์ และได้เจริญชีวิตรอคอยการกลับมาอีกครั้งหนึ่งของพระองค์
(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, นครปฐม, วิทยาลัยแสงธรรม สามพราน, 1985, หน้า 55 – 57)