Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

 imageedit 1 6373507384

บาทหลวงปิยะชาติ   มะกรครรภ์

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

Prayer

บทภาวนาจากหัวใจ
โดย คุณพ่อ Robert Mitchel O.M.I.
     ก่อนลาจากโลกนี้ไปหาพระบิดา พระเยซูเจ้าทรงสัญญากับสานุศิษย์ว่า จะประทับอยู่กับพวกเขาตลอดไปจนสิ้นโลก และจะทรงส่งพระจิตเจ้าลงมาเพื่อนำทางและเป็นพลังแก่พระศาสนจักร เครื่องหมายที่เด่นชัดว่าพระเยซูเจ้าประทับอยู่ในพระศาสนจักร เครื่องหมายที่เด่นชัดว่าพระเยซูเจ้าประทับอยู่ในพระศาสนจักร พร้อมกับองค์พระจิตเจ้าในช่วงสังคายนาวาติกันที่ 2 ก็คือ การฟื้นฟูชีวิตการภาวนาของคริสตชน ซึ่งแสดงถึงมิตรภาพของมนุษย์กับพระเจ้า เป็นสัจธรรมล้ำลึกที่คงอยู่ตลอดไป ไม่มีใครสามารถทำลายได้
“เรามีพระเยซูเจ้า”
     มีคนถามคุณแม่เทเรซาแห่งกัลกัตตาว่า คริสต์ศาสนิกชนสามารถเรียนรู้วิธีการรำพึงแบบพุทธและฮินดูได้หรือไม่ คุณแม่มองลึกลงไปในดวงตาของผู้ถาม แล้วกล่าวว่า “เรามีพระเยซูเจ้า” ใช่แล้ว เรามีพระเยซูเจ้า ในพระองค์ เราสามารถพบขุมทรัพย์ทุกชนิดที่เราต้องการ

     “บทภาวนาแห่งพระเยซูเจ้า” เป็นการภาวนาแบบหนึ่งที่กลับมาอยู่ในความสนใจปัจจุบันและได้ช่วยหลายคนให้ภาวนา คือ “บทภาวนาจากหัวใจ” หรือ “บทภาวนาแห่งพระเยซูเจ้า” การภาวนาแบบนี้เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 และมีชื่อเสียงมากในบรรดาคริสต์ศาสนิกชนตะวันออก แถบประเทศปาเลสไตน์ กรีก และรัสเซีย การภาวนาแบบนี้คือการพูดซ้ำพระนามพระเยซูเจ้าบ่อยๆด้วยหัวใจ หรือใช้สูตร อาทิ “ข้าแต่พระเยซูเจ้า บุตรพระเจ้าทรงชีวิต โปรดเมตตาข้าพเจ้าคนบาปด้วย” หลายท่านรู้จักกับวิธีภาวนาแบบนี้จากหนังสือเล่มเล็กๆ ชื่อว่า “เรื่องเล่าของผู้แสวงบุญชาวรัสเซีย” เป็นเรื่องราวของหรุ่มผู้หนึ่งที่เร่ร่อนในรัสเซีย เพื่อเสาะหาใครสักคนที่จะช่วยสอนว่าทำอย่างไรจึงจะภาวนาได้ เขาได้ไปเยี่ยมเยียนวัดต่างๆหลายแห่ง จนกระทั่งได้พบกับชายชราผู้เป็นอาจารย์ทางชีวิตจิตเปี่ยมด้วยปรีชาญาณท่านหนึ่ง ท่านได้สอนบภาวนาแห่งพระเยซูเจ้าแก่เขา รูปแบบการภาวนาคือ “นั่งเงียบๆ ในความโดดเดี่ยว ก้มศีรษะ ปิดตา หายใจช้าๆ รวบรวมสติปัญญาความคิด ให้เดินทางจากศีรษะลงสู่หัวใจ พูดเวลาที่หายใจเข้าว่า “ข้าแต่พระเยซูเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้า โปรดเมตตาข้าพเจ้าด้วย” ออกเสียงเบาๆหรือสวดในใจก็ได้ พยายามไล่ความคิดอื่นออกไปให้หมด ให้อยู่ในความเพียรทนและทำแบบฝึกหัดนี้ซ้ำบ่อยๆ”
ภาวนาด้วยหัวใจ ที่ไม่เพียงให้คิดถึงพระเจ้า แต่ปล่อยใจให้โลดแล่นไปหาพระเยซูเจ้า เพื่อจะได้สัมผัสพระองค์ด้วย เคยมีคำกล่าวว่าหนทางที่ยาวที่สุดในโลก คือหนทางจากศีรษะไปยังหัวใจ (หรือจากสมองไปสู่ดวงใจ) ต้องเดินบนเส้นทางนี้เพื่อที่จะภาวนาบทภาวนาแห่งพระเยซูเจ้า หัวใจที่เรากล่าวถึงนี้ คือ จุดใจกลางของตัวตน ณ ก้นบึ้งของจิตใจของเขา ณ ที่นั้นเองเขาสามารถมอบถวายตัวทั้งหมดแด่พระเจ้าด้วยเสรีภาพและความรัก บทภาวนานี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับองค์พระผู้เป็นเจ้า มากกว่าการตรึกตรองและความนึกคิดเกี่ยวกับพระองค์ ดวงใจถูกดึงดูดโดยพระเยซูเจ้า และดวงใจนี้ปรารถนาจะพักพิงในพระองค์ตลอดเวลา
กล่าวพระนามพระเยซูเจ้า
     เริ่มต้นด้วยการกล่าวพระนามพระเยซูเจ้าซ้ำๆ หลายครั้งจากส่วนลึกของดวงใจ อาจใช้สูตร อาทิ “ข้าแต่พระเยซูเจ้า บุตรพระเจ้าผู้ทรงชีวิต โปรดเมตตาข้าพเจ้าคนบาปเทอญ” มุ่งจุดสนใจอยู่ที่พระเยซูเจ้าผ่านทางพระนามของพระองค์ เราเอ่ยพระนามพระเยซูเจ้าหรือสูตรที่เลือกซ้ำๆอย่างช้าๆ และเรียกด้วยความรัก ดวงใจ หายใจ เป็นพระเยซูเจ้า มอบตัวแด่พระองค์ และปล่อยให้พระองค์เปลี่ยนแปรตัวเราให้เป็นภาพลักษณ์ของพระองค์ การกล่าววาจาซ้ำๆนั้นกระทำอย่างช้าๆนิ่มนวล มีการหยุดพักและเงียบ อาศัยพระนามนี้ ผู้ที่กำลังภาวนาจะถูกนำพาไปสู่พระทัยของพระเยซูเจ้า และร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์อย่างสนิทแนบแน่นยิ่งขึ้น
บทภาวนาสำหรับทุกคน
     คริสต์ศาสนิกชนสามารถใช้บทภาวนาที่เรียบง่ายนี้ได้ ในหลายสถานการณ์ บนถนน ในรถเมล์ ในครัว เวลาทำงาน บนเตียงนอนในโรงพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย หรือเมื่อเฝ้าคนป่วย ดวงใจกระหายหาพระเยซูเจ้าและร้องเรียกพระนาม ผู้ที่ภาวนาแบบนี้จะเรียนรู้จักพระเยซูเจ้าและเพื่อนพี่น้อง ทั้งผู้ที่มีความสุข ทนทุกข์ และผู้ยากไร้ เขาจะค่อยๆเรียนรู้จักการประทับอยู่ของพระเยซูเจ้า และเสาะหาพระพักตร์ของพระองค์ในสิ่งสร้างและในเหตุการณ์ เขาสามารถปล่อยให้พระจิตเจ้าประทานแรงบันดาลใจให้ และตรัสในตัวเขาว่า “พระเยซูเจ้า” “โปรดเสด็จมาเถิดพระเยซูเจ้า” พระจิตเจ้าจะทรงนำผู้ภาวนาไปสู่ธรรมล้ำลึกของพระเยซูเจ้า
     ผลก็คือดวงใจจะสงบและเป็นตัวของตัวเอง ไม่แบ่งแยก ก้าวเข้าสู่แสงสว่างของพระคริสต์และเปลี่ยนแปรไปทีละเล็กทีละน้อย กลายเป็นภาพลักษณ์ของพระองค์ บางครั้งประสบการณ์อาจเข้มข้นรุนแรง จนดวงใจเร่าร้อนเหมือนศิษย์เอมมาอุสที่ได้พบพระเยซูเจ้า และได้ฟังพระองค์อธิบายพระคัมภีร์ บทภาวนาพระเยซูเจ้า ช่วยให้เป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูเจ้า ไม่เพียงในช่วงเวลาที่สวดเท่านั้น แต่ในทุกกิจการ หรือกลายเป็นบรรยากาศที่จะปกคลุมชีวิตทั้งชีวิตของบุคคลนั้น
ภาวนาอย่างไร
     ก่อนอื่นหมด ต้องพยายามสร้างสันติ ความสงบและความเงียบในใจ หาสถานที่อันเหมาะสม สงบและอยู่ในท่าทีสบายผ่อนคลาย ใช้เวลาเท่าที่ต้องการและจำเป็นเพื่อสงบใจ และก้าวสู่การอยู่ต่อหน้าพระเยซูเจ้า การหายใจเข้าหายใจออกอาจช่วยผ่อนคลาย เพื่อบรรลุความสงบนี้
     ต่อไป ค่อยๆเริ่มเรียกพระนามพระเยซูเจ้า หรือจะใช้บทอื่น อาทิ “ข้าแต่พระเยซูเจ้า โปรดเมตตาข้าพเจ้าด้วย” ให้กล่าวออกมาจากใจ พยายามหาจุดใจกลางในตัวเรา ที่เราสามารถรักและมอบถวายตัวเราแด่พระเยซูเจ้าได้ เราอาจใช้จังหวะการหายใจช่วยในการภาวนานี้ เช่น เวลาหายใจเข้า ภาวนาว่า “ข้าแต่พระเยซูเจ้า บุตรพระเจ้าผู้ทรงชีวิต” และเวลาหายใจออก ภาวนาว่า “โปรดเมตตาข้าพเจ้าคนบาปด้วยเทอญ” หรือออกพระนามพระเยซูเจ้า โดยปล่อยลมหายใจออกช้าๆก็ได้
ปล่อยให้พระองค์พาเราไปอย่างละมุนละม่อม เข้าสู่ความรักอันอ่อนหวานของพระองค์ อยู่ในความสงบสันติ ในความเงียบ อยู่กับพระเยซูเจ้า เหมือนอยู่กับเพื่อนสนิท บางครั้ง พระนามของพระเยซูเจ้าจะผุดขึ้นเองในใจของของเราท่ามกลางงานประจำวัน และชีวิตของเราจะมีจุดรวมในพระเยซูเจ้ามากขึ้น เราจะเจริญชีวิตของเราต่อหน้าพระองค์ และกิจการงานประจำวันของเราจะแสดงออกถึงความรักที่เรามีต่อพระองค์และเพื่อนมนุษย์
ปรับบทภาวนาให้เข้ากับความต้องการส่วนตัว

     บทภาวนาพระเยซูเจ้านี้ เป็นเพียงการภาวนาแบบหนึ่งในหลายๆแบบ อาจใช้เป็นวิธีภาวนา แรงบันดาลใจให้ค้นพบวิธีการภาวนาที่ปรับให้เข้ากับความต้องการส่วนตัว อาจเลือกคำ ประโยค หรือสำนวนในพระคัมภีร์หรือจากพิธีกรรม เพื่อบอกความรักจากส่วนลึกของหัวใจแด่พระเจ้า เช่น “ข้าแต่พระเยซูเจ้า ลูกรักพระองค์” “โปรดเสด็จมาเถิด พระเยซูเจ้าข้า” “ข้าแต่พระเยซูเจ้า โปรดรักษาข้าพระองค์ด้วย” “ขอบพระคุณพระเยซูเจ้า” หรือจะใช้คำขอจากบท “ข้าแต่พระบิดา” ก็ได้ กล่าวประโยคหรือสำนวนซ้ำๆ ช้าๆ โดยพยายามให้ดวงใจของเรามีศูนย์รวมที่พระเยซูเจ้า และพระบิดาเจ้า ปล่อยให้พระจิตเจ้าพาเราไป ในระหว่างภาวนา เราอาจมีแรงบันดาลใจให้เปลี่ยนคำพูด หรือกลับมาอยู่เฉยๆ ในความเงียบต่อพระพักตร์พระเจ้า
ผู้ที่ภาวนามาเป็นเวลานานแล้ว จะมาถึงจุดที่เขาจะภาวนาจากหัวใจแบบนี้ในที่สุด พระสงฆ์องค์หนึ่งตัดสินใจว่าจะสอนวิธีภาวนาแบบนี้กับแม่ผู้มีอายุ 84 ปี เขาไปหาแม่ แม่ของเขากำลังถักไหมพรมอยู่เหมือนทุกวัน เธอกล่าวว่า “ลูกรู้ไหม แม่อยากจะบอกอะไรกับลูกสักอย่างตั้งนานแล้ว ลูกรู้หรือเปล่าว่า เมื่อแม่ถักไหมพรมแต่ละทบ แม่พูดในใจแม่ว่า ‘ข้าแต่พระเยซูเจ้า โปรดเมตตาเทอญ’” ไม่จำเป็นต้องสอนอะไรอีกแล้ว
     เรามีพระเยซูเจ้าและพระบิดาในความเชื่อของเรา ขอพระจิตเจ้าผู้ทรงชีวิตอยู่ท่ามกลางเรา โปรดทรงช่วยสอนเรา ให้พระองค์ทรงเปิดดวงใจของเรา เพื่อพระองค์ผู้ทรงเปี่ยมด้วยความรัก จะเข้าสถิตอยู่ได้


(ที่มา : นิตยสารแม่พระยุคใหม่, ฉบับที่ 214, ปีที่ 36 , เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2017/2560, หน้า 27 – 28)

 

ศึกษาพระคัมภีร์

Catholic bible

ค้นหา

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

bkk2020

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เรื่องมาตรการและแนวทางภาคปฏิบัติ

เพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสตศาสนิกชนคาทอลิก

แรงจูงใจในการประกาศพระวรสาร

 

บทความดีดี