Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

Sahafr

บาทหลวงอนุรัตน์ ณ สงขลา

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

final

4 สิ่งสุดท้าย ความเชื่อคาทอลิกเกี่ยวกับความตาย การพิพากษา สวรรค์ และนรก

1.ความเป็นจริงที่ไม่น่ารื่นรมย์ พระศาสนจักรตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องทำให้ผู้คนมาสนใจสิ่งที่ดูเหมือนเป็นสภาพความเป็นจริงที่ ไม่น่ารื่นรมย์ เช่น ความตายของเราและสิ่งที่อยู่ไกลตัวเรา เพื่อจะทำสิ่งนี้ได้ หลายครั้งมีการกล่าวหาว่าพระศาสนจักร คาทอลิก มักเทศน์สอนเกี่ยวกับศาสนาแห่งความกลัว แต่สิ่งนี้ไม่จริงเลย ความตาย การพิพากษา สวรรค์ และนรก หรือที่เรารู้จักว่าเป็น “4 สิ่งสุดท้าย”

เป็นสภาพความเป็นจริงที่เราทุกคนต้องเผชิญ แม้ว่า เราหลายคนไม่ปรารถนาที่จะ คิดถึงเรื่องเหล่านี้ก็ตาม เราหลายคนไม่ได้คิดถึงความตาย และถ้าเราคิดถึง เราก็จะคิดถึงด้วยความกลัวอย่างจับจิตจับใจเลยทีเดียว การพิพากษาและนรกไม่ใช่ความคิดที่น่าชื่นชอบสำหรับหลายคนในทุกวันนี้ อย่างไรก็ตาม มีคุณค่าที่ยิ่งใหญ่กว่าในการทำความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้และในการช่วยให้คนอื่นเข้าใจเรื่องเหล่านี้ พระศาสนจักรถือว่า ความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นขั้นตอนที่เราจะเผชิญอย่างแน่นอน เราจะเรียนรู้ ความตายจากประสบการณ์เพื่อเราจะได้มีความหวัง ณ ที่นี้ การตอบสนองสิ่งที่กระทำลงไป (กรรมสนองกรรม) และ ความกลัวมีความสำคัญเพียงเล็กน้อย

2.ความตาย

     เราทุกคนต้องตาย ขณะที่ผู้ไม่มีความเชื่อหลายคนพยายามไม่คิดถึงเกี่ยวกับการตายเลย พวกเขากำลังเลิกคิดเกี่ยวกับความตายทั้งด้านชีวิตจิตและด้านจิตวิทยาเพราะคิดว่าเป็นสิ่งไม่ดีสำหรับชีวิต ถ้าไม่มีบาปและความชั่วร้ายในโลกและในตัวเราเองแล้ว ก็อาจจะไม่มีความตายเลยก็เป็นได้ แต่เราต้องสำนึกในพระกรุณาว่าพระเจ้าตรัสเรียกเราเข้าสู่พระอาณาจักรผ่านทางความตาย ความตายจึงเป็นของประทานของพระเจ้าสำหรับคนบาป ไม่มีคนบาปคนใดปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่ตลอดกาล เราเรียนรู้ที่จะมีความสุขตามพระประสงค์อันศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้ารวมทั้งความตายของเราด้วย ขณะที่คนหนุ่มสาว มีความโน้มเอียงที่จะผลักดันความตายให้ห่างออกไป แต่เมื่อเราเริ่มเข้าสู่วัยชรา เราก็จะค่อยๆ ยอมรับความคิดนี้ได้อย่างสงบ นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีสรรเสริญพระเจ้าสำหรับ “ความตายด้านร่างกายว่าเป็นพี่สาวของเรา” เพราะความตายคือประตูสู่ชีวิตนิรันดรในการเข้าประตูนั้น เราอาจรู้สึกตกใจด้วยความเจ็บปวด หรืออาจรู้สึกเคลิ้มจะหลับเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับเราแต่ละคน แต่เหนือประตูนั้น เราได้รับการปลดปล่อยจากห้วงเวลาและสถานที่ที่คอยกดดันเรา เราจะไม่รู้สึกโศกเศร้าในงานศพของเรา จะไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย และไม่ถูกประจญอีกต่อไป ความตายเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องชีวิตฝ่ายจิตของคาทอลิกที่ว่าเราควรสวดภาวนาและเตรียมตัวเพื่อเผชิญความตายอย่างดี และเมื่อเราเตรียมพร้อมแล้วเท่านั้น การภาวนาเองจะช่วยปลดปล่อยเราจากการกลัวในความ ตายได้

3.การพิพากษาลงโทษ

     พระเจ้าทรงพิพากษาตัดสินเราเพราะพระองค์เองคือองค์ความจริง และทรงเป็นองค์ความยุติธรรมสูงสุด ในขณะที่เราเข้าใจเรื่องความจริงของพระเจ้านั้น เราก็จะเห็นสภาพความเป็นจริงของชีวิตของเราเอง ขณะที่มนุษย์ “พบกับการประทับอยู่ที่เร้นลับน่าพิศวงของพระเจ้า เขาจะพบว่า เขาไม่มีความสลักสำคัญแต่ประการใดเลย” (CCC ข้อ 208) พระเจ้าไม่ทรงพระประสงค์พยานบุคคลที่ต้องแสดงหลักฐานเกี่ยวกับบาปของเรา แต่พระองค์ทรงจัดหาความยุติธรรมที่ปราศจากความเป็นไปได้ของความอยุติธรรม และความยุติธรรมของพระองค์ก็ถูกทำให้สงบเรียบร้อยด้วยความรักและเมตตา พระเจ้าทรงพิพากษาวิญญาณด้วยมาตรการเท่าที่เป็นไปได้ 3 ประการ
     1.พระองค์จะทรงประกาศว่า วิญญาณที่พร้อมที่จะอยู่กับพระองค์ในสวรรค์ตลอดไป นี่คือ คำพิพากษาสำหรับ นักบุญ เราอาจถูกล่อลวงให้เดาว่านี่คือ คำพิพากษาสำหรับคนส่วนน้อยก็จริง แต่เราไม่อาจจินตนาการถึง วิธีที่พระองค์ประทานแก่เราตามที่พระองค์พอพระทัยได้
     2.พระองค์ประกาศว่า วิญญาณที่จะถูกปรับโทษไม่ให้ดำเนินชีวิตกับพระเจ้าตลอดไป วิญญาณเช่นนั้นจะได้รับโทษ ตามที่ตนได้กระทำ นี่คือการตัดสินลงโทษให้ไปนรก เราหวังว่า นี่คือคำพิพากษาสำหรับน้อยคน บางทีไม่มีใครเลยที่ถูกพิพากษาเช่นนี้เลย แต่ยังเป็นไปได้สำหรับคนที่เลือกความมืดมากกว่าความสว่าง ตามที่พระเยซูเจ้าได้ทรงสอนนิโคเดมัส (ยน 3:17-21)
     3.วิญญาณถูกผูกมัดที่จะต้องรับการชำระให้บริสุทธิ์ ซึ่งเราเรียกว่า ไฟชำระ ซึ่งจะนำเราเข้าสู่ระดับของนักบุญ และเตรียมเราไปรับความสุขนิรันดรกับพระเจ้า เรามั่นใจได้ว่า สิ่งนี้จะเป็นคำพิพากษาสำหรับวิญญาณทั้งหลาย ความเป็นไปได้นี้ทำให้เรามั่นใจว่าเราไม่สามารถไปนรกโดยบังเอิญ นอกเสียจากว่าเรายังคงทำบาปอีกในสวรรค์ (เหมือนเทวดาที่เคยกบฏต่อพระเจ้า)

4.นรก

     เหตุใดพระเจ้าแห่งความรักทรงสร้างนรก ซึ่งเป็นสภาพทุกข์ระทมไม่มีสิ้นสุด เป็นเพราะบางคนใช้อิสรภาพที่ พระเจ้าประทานให้เพื่อปฏิเสธพระองค์และพระประสงค์ของพระองค์ พวกเขาตกอยู่ในสภาพที่เกินคำบรรยายในเรื่อง ความเห็นแก่ตัว เหนื่อยหน่ายต่อชีวิต ทำตามใจตัวเอง และอยู่กับความหลังจนรู้สึกอ้างว้างและสิ้นหวัง เขามีความกลัว ที่มาจากอาการป่วยเพราะความพ่ายแพ้และสิ้นหวังตลอดไป เราทุกคนมีอิสระที่จะปฏิเสธพระเจ้าและหนทางรักของพระองค์ ดังนั้น พระคริสตเจ้าจึงทรงแสดงความรักนี้แก่เราได้อย่างสมบูรณ์ พระเจ้าจะไม่ทรงบังคับเราให้ไปสวรรค์ แม้ว่าพระองค์ทรงพระประสงค์ให้เราไปสวรรค์ก็ตาม แต่พระองค์ทรงปล่อยให้เรามีอิสระที่จะยอมรับหรือปฏิเสธข้อเสนอของพระองค์ ดังนั้น ทางไปสู่นรกคือวิธีที่ทำให้ตัวเองเป็นศูนย์กลาง ซึ่งตรงกันข้ามกับวิธีที่พระคริสตเจ้าทรงสอน ทรงสอนถึงหนทางของการไม่ทำลายตัวเองอย่างสิ้นเชิง เราไม่ทราบว่าใครบ้างที่ชอบต่อต้านและอยู่ในเส้นทางที่จบลงด้วยความขมขื่น แต่เราทราบว่า เรามีอิสระที่จะไปนรกหรือไม่ไป

5.สวรรค์

     เราพูดถึงสวรรค์ราวกับว่าเป็นสถานที่หนึ่ง เราไม่ใคร่พูดเกี่ยวกับสวรรค์ด้วยวิธีอื่น เรื่องราวเกี่ยวกับการพบปะกับ นักบุญเปโตรใน “ประตูสู่สวรรค์” ปกติ เป็นเรื่องตลกขบขันที่เราพยายามแสดงความจริงเกี่ยวกับสวรรค์ หรือเกี่ยวกับคนที่ อยู่ในเส้นทางสู่สวรรค์ เพื่อพูดถึงบางสิ่งที่เกี่ยวกับสภาวะหนึ่งว่า แท้จริงไม่มีขอบเขตแต่ประการใด คำถามที่ว่า “คุณเชื่อไหมว่า มีสวรรค์” ความจริง หมายความว่า “คุณเชื่อไหมว่า เราสามารถมีชีวิตอยู่ตลอดไปกับพระเจ้าในความศักดิ์สิทธิ์และความชื่นชมยินดีอย่างสมบูรณ์ไหม” ต่างหาก ตามปกติ เราส่วนมากมักคิดภาพต่างๆ ภาพเกี่ยวกับชีวิตในสวรรค์ที่เคยคิดกันมา มักนำมาจากหนังสือวิวรณ์ ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายของหนังสือพันธสัญญาใหม่ ซึ่งเป็นภาพสัญลักษณ์ ไม่ใช่ภาพถ่ายจากของจริง ในภาพเหล่านี้ พระบัลลังก์ของพระเจ้าอยู่ตรงกลางสวรรค์ เป็นการง่ายที่จะเข้าใจว่าสิ่งนี้หมายความว่า พระเจ้าทรงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของชีวิตสวรรค์ มีบรรดาทูตสวรรค์และบรรดานักบุญ (ผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า) จำนวนมากอยู่ล้อมรอบพระบัลลังก์ พวกเขากำลังสรรเสริญและคอยปรนนิบัติรับใช้พระเจ้า ไม่มีภาษาภาพที่ดีไปกว่าชีวิตสวรรค์นี้ ซึ่งเราออกแบบกันมา บรรดานักบุญไม่ได้ถูกบังคับให้ยอมจำนนต่อเจ้านายที่มีอำนาจเหนือพวกเขาได้ เพราะพวกเขามีความสุขที่จะรักพระองค์และพระองค์ประทับอยู่กับพวกเขา เฉกเช่นความสุขแบบอื่นๆ ความสุขในสวรรค์ต้องมีการแบ่งปัน ถ้าเป็นจริงและมีอยู่จริง ในสวรรค์เราจะถูกรวมเป็นหนึ่งเดียวกับคนที่เรารักที่สิ้นชีวิตไปแล้ว ได้แก่ บรรพบุรุษของเราและบรรดานักบุญของพระเจ้า เป็นการเขลาที่จะพูดว่า สวรรค์จะไม่พอสำหรับทุกคน (เทียบ ยน 14:21) ความจริง จักรวาลที่เราอยู่ตอนนี้มีลักษณะไม่สิ้นสุด และนิรันดรภาพก็อยู่เหนือกาลเวลาด้วย และความคิดที่ว่า การสรรเสริญพระเจ้าตลอดกาลจะน่าเบื่อ ก็เป็นเรื่องไร้สาระด้วย เพราะการสรรเสริญพระเจ้าคือความรักที่ไม่จำกัดและเป็นความสุขเมื่อได้สรรเสริญพระองค์

ไตร่ตรอง
     การมีเวลาไตร่ตรองเพียงเล็กน้อยจะแสดงให้เราเห็นถึงสิ่งที่พระศาสนจักรสอนอย่างต่อเนื่องว่า เราสามารถลิ้มรสสวรรค์และนรกล่วงหน้าได้ การลิ้มรสล่วงหน้าช่วยให้เราเตรียมตัวสำหรับความตายและการพิพากษา เพราะสวรรค์คือการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขกับพระเจ้า ส่วนนรกคือความพยายามที่จะหลีกหนีจากพระองค์

ศึกษาพระคัมภีร์

Catholic bible

ค้นหา

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

bkk2020

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เรื่องมาตรการและแนวทางภาคปฏิบัติ

เพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสตศาสนิกชนคาทอลิก

แรงจูงใจในการประกาศพระวรสาร

 

บทความดีดี