/home/missionbkk/public_html/templates/30aug182/component.php on line 5
"> มิตรภาพแห่งศีลมหาสนิท

sacrament
     มก.14 : 22 -24
     “ขณะที่ทุกคนกำลังกินอาหารอยู่นั้น พระองค์ทรงหยิบขนมปัง ตรัสถวายพระพร ทรงบิขนมปัง ประทานให้เขาเหล่านั้น ตรัสว่า “จงรับเถิด นี่เป็นกายของเรา” แล้วพระองค์ทรงหยิบถ้วย ตรัสขอบพระคุณ ประทานให้เขาและทุกคนดื่มจากถ้วยนั้น พระองค์ตรัสกับเขาว่า “นี่เป็นโลหิตของเรา โลหิตแห่งพันธสัญญาที่หลั่งออกเพื่อคนจำนวนมาก”
ภาพวาดบนบานประตูโบสถ์แห่งหนึ่งในประเทศเยอรมันได้ถูกออกแบบอย่างงดงามศิลปินได้วาดภาพ 4 ภาพบนบานประตูนั้นอันแสดงออกซึ่งสัญลักษณ์อันลึกซึ้ง
ภาพแรกคือภาพตุ่มน้ำ 6 ใบซึ่งหมายถึงอัศจรรย์การเปลี่ยนน้ำเป็นเหล้าองุ่นที่เมืองคานาในแคว้นกาลิลี (ยน 2:1-12) ภาพที่สองคือภาพขนมปัง 5 ก้อนกับปลา 2 ตัวอันหมายถึงอัศจรรย์ที่พระเยซูเจ้าทรงทวีอาหารเลี้ยงประชาชนกว่า 5,000 คน (มธ.14:13-21) ภาพที่สามคือภาพคน 13 คนกำลังนั่งรับประทานอาหารซึ่งก็คือภาพอาหารค่ำมื้อสุดท้ายก่อนที่พระเยซูเจ้าจะสิ้นพระชนม์ (มก.14:22-26) และภาพที่สี่คือภาพคน 3 คนนั่งอยู่ที่โต๊ะอาหารนั่นคือศิษย์สองคนที่เดินทางไปเอมมาอุสและได้พบกับพระเยซูเจ้าผู้ทรงกลับคืนชีพและได้รับประทานอาหารกับพระองค์ (ลก. 24:13-35)


ภาพทั้ง 4 ที่ศิลปินบรรจงวาดนั้นเป็นการนำเอาอัศจรรย์ที่สำคัญที่สุด 4 ประการที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำอันเป็นการค่อยๆเปิดเผยถึงภารกิจที่ยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงกระทำเพื่อมอบแก่มนุษย์และอัศจรรย์นั่นก็คือ“อัศจรรย์แห่งความรักของพระเจ้า”เราลองมาทบทวนดูเหตุการณ์ที่พระเยซูเจ้าค่อยๆเปิดเผยภารกิจของพระองค์
ภาพแรก“อัศจรรย์ที่เมืองคานาพระเยซูเจ้าทรงเปลี่ยนน้ำเป็นเหล้าองุ่น”ทำไมพระองค์ทำดังนั้น? เพียงเพื่อทำให้เจ้าภาพไม่เสียหน้าเพราะเหล้าองุ่นขาดลงเท่านั้นหรือ? นักบุญยอห์นเขียนพระวรสารของท่านโดยแฝงไว้ซึ่งความหมายและลึกๆแล้วความหมายนั่นก็คือการเปลี่ยนน้ำเป็นเหล้าองุ่นนั้นเป็นการชี้แสดงไปถึงการที่พระเยซูเจ้าจะทรงเปลี่ยนเหล้าองุ่นเป็นโลหิตของพระองค์เอง
ส่วนภาพที่สอง“พระเยซูเจ้าทรงทวีอาหารเลี้ยงคนจำนวนมาก”ปัง 5 ก้อนกับปลาเพียง 2 ตัวถูกทำให้มากพอสำหรับผู้คนความหมายลึกๆของการทวีอาหารก็คือไม่เพียงพระองค์ทวีอาหารเลี้ยงผู้คนห้าพันคนในเวลานั้นแต่ในอนาคตพระองค์สัญญาจะมอบร่างกายของพระองค์เป็นอาหารสำหรับมนุษย์ทุกคนด้วย
ภาพที่สาม“อาหารค่ำมื้อสุดท้าย”พระเยซูเจ้ารู้ดีว่าพระองค์กำลังจะต้องมอบชีวิตตามที่พระองค์ได้สัญญาไว้ดังนั้นพระองค์จึงทำให้มื้ออาหารซึ่งหมายถึงความสัมพันธ์ของผู้ร่วมโต๊ะนั้นมีความหมายลึกซึ้งระหว่างพระองค์กับบรรดาศิษย์พระองค์จึงสถาปนางานเลี้ยงนั้นให้ไปงานเลี้ยงอันศักดิ์สิทธิ์เป็นงานเลี้ยงที่บรรดาสิทธิ์จะต้องกระทำต่อมาเพื่อระลึกถึงพระองค์
และภาพสุดท้ายคือ“ภาพของศิษย์สองคนที่กำลังทานอาหารกับพระเยซูเจ้าผู้กลับคืนชีพ”เมื่อพระเยซูเจ้าสิ้นพระชนม์ศิษย์สองคนเดินทางอย่างสิ้นหวังและขณะที่จิตใจสับสนนั้นพระเยซูเจ้าก็เสด็จมาเดินร่วมทางกับพวกเขาและอธิบายคำสอนตั้งแต่ต้นจนจบโดยที่พวกเขาไม่รู้ว่าพระองค์เป็นใครเมื่อถึงหมู่บ้านศิษย์ทั้งสองก็เชิญให้พระองค์ทานอาหารด้วยและระหว่างมื้ออาหารนั่นเองศิษย์ทั้งสองก็จำพระองค์ได้ในเวลาที่พระองค์ทรงบิปังทั้งสองจึงมีกำลังใจขึ้นแนะนำข่าวดีที่เขาพบกับพระคริสตเจ้าไปบอกกับศิษย์คนอื่นๆภาพนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของ“การฉลองศีลมหาสนิทครั้งแรกที่นำความหวังความร้อนรนมาสู่บรรดาศิษย์ซึ่งต่อมาจะนำข่าวดีนี้ไปประกาศ”
เราจึงอาจสรุปความจากภาพวาดที่นำเนื้อหามาจากพระวรสารได้ว่าการเปลี่ยนน้ำเป็นเหล้าองุ่นที่เมืองคานานั้นคือภาพล่วงหน้าของการที่พระเยซูเจ้าทรงเปลี่ยนเหล้าองุ่นเป็นพระโลหิตของพระองค์เองการทวีอาหารเลี้ยงคนมากมายนั้นเป็นคำสัญญาของพระเยซูเจ้าว่าพระองค์จะประทานชีวิตของพระองค์เองเป็นอาหารเลี้ยงมนุษย์สวนอาหารค่ำมื้อสุดท้ายนั้นคือการตั้งศีลมหาสนิทเพื่อเป็นอาหารหล่อเลี้ยงชีวิตคริสตชนและที่สุดที่เอมมาอุสคือการฉลองศีลมหาสนิทครั้งแรก
(เรียบเรียงจาก Mark Link SJ. Sunday Homilies YEAR B pp.141)
มิตรภาพที่ยั่งยืนนั้นเปรียบเสมือนต้นไม้มันไม่ได้วัดกันที่ความสูงของต้นไม้แต่วัดกันที่ความลึกของรากต้นไม้ที่แผ่ขยายลงไปในดินต่างหากเพราะถ้าหากร่างกายแข็งแรงแล้วไซร้ก็จะส่งผลให้ลำต้นแข็งแรงตามไปด้วย”มิตรภาพของเรากับพระเจ้าก็เช่นกันหากเราเอาใจใส่ชีวิตภายในให้เข้มแข็งหยั่งรากแห่งชีวิตเราให้ลึกลงไปในองค์พระเจ้าแน่นอนชีวิตภายนอกของเราก็จะเข้มแข็งตามไปด้วยขอให้ศีลมหาสนิทที่เรารับทุกอาทิตย์นี้ทำให้เรามีมิตรภาพที่ยั่งยืนกับพระเจ้าเสมอไปเถิด
(ที่มา:คุณพ่อทัศนุหัตถการกุล, ขุมทรัพย์ในภาชนะดินเผา, กรุงเทพฯหน้า 30-32)