Get Adobe Flash player

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานฯ

Sahafr

บาทหลวงอนุรัตน์ ณ สงขลา

ผู้ช่วยพระสังฆราชฝ่ายงานธรรมทูต อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

Facebook


banner face holych Custombanner_face_pmg_Custom.pngPresentation2 Custom

งานอื่นๆของฝ่าย

Slide6 CustomSlide5 Custom

เวลา

สมโภชพระจิตเจ้า

     “พระจิตเจ้า” หรือ “พระจิตผู้ศักดิ์สิทธิ์” คือ พระนามเฉพาะขององค์พระผู้ซึ่งเราสักการบูชาและถวายสิริโรจนาร่วมกับพระบิดาและพระบุตร พระศาสนจักรได้รับพระจิตมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า และประกาศยืนยันในการโปรดศีลล้างบาปให้แก่ลูกคนใหม่ๆ ของพระศาสนจักร (PG 45, 1321 A – B)

     คำว่า “พระจิต” เป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรูว่า “Ruah” ซึ่งในความหมายแรก หมายถึง ลมหายใจ อากาศ สายลม พระเยซูเจ้าทรงใช้ภาพลักษณ์ของลมที่รู้สึกได้อย่างถูกต้อง เพื่อเสนอแนะแก่นิโคเดมัส ถึงลักษณะใหม่อันโพ้นธรรมชาติขององค์พระผู้ทรงเป็นลมปราณของพระเจ้า พระจิตของพระเจ้าโดยพระองค์ (ยน 3:5-8) ในอีกทางหนึ่ง พระจิตและความเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์เป็นคุณสมบัติร่วมกันของพระเจ้าทั้งสามพระบุคคล แต่เมื่อรวมคำสองคำเข้าด้วยกันแล้ว พระธรรมคัมภีร์ พิธีกรรม และภาษาเทววิทยา ก็หมายถึงพระบุคคลอันเหลือที่จะพรรณนาได้ของพระจิตเจ้าโดยปราศจากความคลุมเครือใดๆที่จะไปปะปนกับคำว่า “พระจิต” และ “ศักดิ์สิทธิ์” นี้ในที่อื่นๆ
     “ไม่มีใครจะหยั่งรู้เรื่องราวที่เกี่ยวกับพระเจ้าได้ เว้นแต่พระจิตของพระเจ้า” (1 คร 2:11) และพระจิตที่ทรงเผยแสดงพระเจ้านี้เองที่ทรงโปรดให้เราได้รู้จักพระคริสต์ พระวจนาตถ์ของพระเจ้า พระวาจาทรงชีวิต แต่ไม่มีการตรัสถึงพระองค์เอง
     องค์พระผู้ได้ “ตรัสผ่านทางประกาศกทั้งหลาย” ทรงช่วยให้เราได้ยินพระวาจาของพระบิดา แต่พระองค์เอง เราไม่ได้ยินเลย เรารู้จักพระองค์ก็แต่ในความเคลื่อนไหว ซึ่งในความเคลื่อนไหวนั้น พระองค์ทรงเผยพระวจนาตถ์แก่เรา และเตรียมใจเราให้พร้อมจะต้อนรับพระวจนาตถ์ในความซื่อ พระจิตแห่งความจริงผู้ทรงเผยให้เราได้รู้จักพระองค์ “ไม่ตรัสถึงพระองค์” (ยน 16:13) การลบความสำคัญของพระองค์เองออกไปเช่นนี้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของพระเจ้าโดยเฉพาะต่อคำอธิบายว่าเพราะเหตุใด “โลกจึงรับพระองค์ไม่ได้ เพราะโลกมองไม่เห็นพระองค์ และไม่รู้จักพระองค์” ในขณะที่ผู้ซึ่งเชื่อในพระคริสต์จะรู้จักพระองค์ เพราะพระองค์ประทับอยู่กับพวกเขา (ยน 14:17)
     นักบุญลูกากล่าวว่า หลังจากพระคริสตเจ้าได้เสด็จขึ้นสวรรค์แล้ว พระจิตเจ้าได้เสด็จลงมายังอัครสาวกในวันสมโภชเปนเตกอสเต พร้อมด้วยอำนาจเปิดประตูสวรรค์แก่นานาชาติ และทำให้เขารู้จักพันธสัญญาใหม่ เป็นอันว่ามนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ได้รวมกันขับร้องสรรเสริญพระเจ้าและตระกูลต่างๆที่แตกกระจัดกระจายอยู่ ได้กลับคืนสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันโดยทางพระจิตเจ้า ได้ถูกนำมาถวายแด่พระบิดาเจ้าเป็นดังผลแรกของนานาชาติ
     เมื่อพระคริสตเจ้าได้ทรงสัญญาจะส่งพระผู้บรรเทามา พระองค์จะทรงจัดเตรียมเราให้เป็นของถวายแด่พระเจ้า แป้งแห้งไม่สามารถทำเป็นก้อนหรือขนมปังถ้าไม่มีความชื้นฉันใด หากปราศจากน้ำลงมาจากสวรรค์ เราซึ่งมีอยู่มากหลายก็ไม่สามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวในพระคริสตเจ้าฉันนั้นเช่นเดียวกับดินแห้งแล้วไม่สามารถทำการเพาะปลูกให้เกิดผล เว้นแต่จะได้รับความชุ่มชื้น ครั้งหนึ่งเราเคยเป็นดังต้นไม้ที่ขาดน้ำ เราไม่สามารถเจริญชีวิตและเกิดผล ถ้าปราศจากฝนแห่งพระพรซึ่งตกลงมาจากสวรรค์โดยทางศีลล้างบาป เราได้พ้นจากการเปลี่ยนแปลงและการผุเปื่อยและกลับเป็นหนึ่งเดียวกันทางร่างกายโดยทางพระจิตเจ้าเราได้กลับเป็นหนึ่งเดียวกันทางจิตวิญญาณ
     “พระจิตเจ้าแห่งพระดำริและสติปัญญา พระจิตแห่งความคิดอ่านและพละกำลัง พระจิตแห่งความรู้และความยำเกรงพระเจ้า” ได้เสด็จลงมาเหนือพระเยซูเจ้า และพระเยซูเจ้าได้ประทานพระจิตนี้ แก่พระศาสนจักรอีกทอดหนึ่ง โดยใช้พระผู้บรรเทาจากสวรรค์มาสู่ทั่วโลก” (นักบุญอีเรเนโอ)
พระจิตเจ้าในพระศาสนจักร
     ปราศจาก “ลมปราณชีวิต” มนุษย์ไม่สามารถทำอะไรได้ จิตรกรต้องการแรงบันดาลใจ เราทุกคนได้รับ “ruah Yahway” ลมปราณของพระยาห์เวห์ พระจิตผู้ประทานชีวิตของพระเจ้าในวันรับศีลล้างบาป สำหรับชาวยิว ในวันที่ห้าสิบ (หลังจากวันปัสกา) พวกเขาฉลองการประทานบทบัญญัติแก่โมเสสที่ภูเขาซีนายและการสถาปนาอิสราเอลขึ้นเป็นประชากรของพระเจ้า ส่วนเรา ในวันที่ห้าสิบ เราฉลองการประทานพระจิตของพระเจ้าแก่ประชากรของพระองค์ และที่สัมพันธ์กันคือ เป็นฉลองการสถาปนาอิสราเอลใหม่ คือ พระศาสนจักร
พระจิตเจ้าที่พระเยซูเจ้าทรงส่งมาจากพระบิดา จะทรงเตือนเราทุกคนถึงสิ่งที่พระเยซูเจ้าได้ทรงสอน พระองค์จะให้ชีวิตกระตุ้นเราและช่วยเราให้รู้และเข้าใจศาสนา ไม่เพียงแต่ด้วยความคิด แต่ด้วยจิตใจและวิญญาณของเรา “พระผู้ช่วยเหลือคือ พระจิตเจ้า ที่พระบิดาทรงส่งมาในนามของเรานั้น จะทรงสอนท่านทุกสิ่งและจะทรงให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่เราเคยบอกท่าน” (ยน.14:26)
     พระศาสนจักร ศูนย์รวมความเป็นหนึ่งเดียวอันทรงชีวิตในความเชื่อของบรรดาอัครสาวก ซึ่งพระศาสนจักรถ่ายทอดต่อๆไปนั้น คือแหล่งความรู้ของเราเกี่ยวกับพระจิตเจ้า
-ในพระธรรมคัมภีร์ ซึ่งพระจิตทรงดลใจให้เขียนขึ้น
-ในธรรมประเพณี ซึ่งบรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักรเป็นสักขีพยานอยู่ในลักษณะที่เป็นปัจจุบันเสมอ
-ในอำนาจคำสั่งสอนของพระศาสนจักร ซึ่งพระจิตประทานความช่วยเหลืออยู่
-ในพิธีกรรมแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์ โดยอาศัยถ้อยคำและสัญลักษณ์ ซึ่งพระจิตทรงโปรดให้เราได้ร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสต์
-ในการภาวนาซึ่งพระจิตทรงวิงวอนเพื่อเรา
-ในพระพรพิเศษและศาสนบริกรทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้พระศาสนจักรได้รับการยกย่องเชิดชู
-ในหมายสำคัญแห่งชีวิตการแพร่ธรรม และการเป็นธรรมทูต
-ในการเป็นประจักษ์พยานของบรรดานักบุญ ซึ่งพระจิตทรงสำแดงศักดิ์สิทธิ์ภาพของพระองค์ และปฏิบัติกิจการเพื่อความรอดสืบไป (CCC688)
(ที่มา : ย.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช, ประวัตินักบุญตลอดปี, สมุทรปราการ, บ.สตาร์บูม อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด, 2007, หน้า 166 – 168)

ศึกษาพระคัมภีร์

Catholic bible

ค้นหา

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

bkk2020

ประกาศอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

เรื่องมาตรการและแนวทางภาคปฏิบัติ

เพื่อการเข้าร่วมพิธีกรรมของคริสตศาสนิกชนคาทอลิก

แรงจูงใจในการประกาศพระวรสาร

 

บทความดีดี